รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์
A MODEL OF QUALITY OF LIFE DEVELOPMENT AFFECTING THE ELDERS IN BURIRAM PROVINCE

: ชื่อผู้วิจัย อภินันท์ สนน้อย
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2559
: 1060

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาระดับของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธีแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจำนวน 40 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงและการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากประชากรผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 23 อำเภอ ในจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 189,816 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน่ ได้ตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ ระยะที่ 3 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้สูงอายุจำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง โดยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาอธิบายและตีความเทียบเคียงกับบริบทการวิจัย โดยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัยผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ด้านร่างกายสุขภาพของผู้สูงอายุไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุมีสภาพความเป็นอยู่ดี อบอุ่น มีความเหมาะสมความสัมพันธ์กับครอบครัวชุมชนผู้สูงอายุ ได้มีส่วนร่วมการทำกิจกรรมพอสมควรด้านสภาพแวดล้อมลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีความเหมาะสม 2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงเมื่อพิจารณารายด้านระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและด้านจิตใจและอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านร่างกายและด้านสภาพแวดล้อม 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมกับครอบครัวและชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่และปัจจัยด้านการให้คุณค่าในตนเองค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบคือ .599, .260, .127, .232 และ .064 ตามลำดับ ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ .316, .286, .163, .221 และ .082 ตามลำดับ โดยที่ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 5 ตัว มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .858 สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ร้อยละ 73.70 (R2 = 0.737, F = 220.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้สูงอายุควรพัฒนาตนเองช่วยเหลือตนเองผู้ดูแลผู้สูงอายุครอบครัวควรช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุหน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจัดสวัสดิการกิจกรรม เพื่อสุขภาพดูแลความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุอบรมให้ความรู้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกจัดบริการสาธารณะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน

`

รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดบุรีรัมย์A MODEL OF QUALITY OF LIFE DEVELOPMENT AFFECTING THE ELDERS IN BURIRAM PROVINCE is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.