การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model)
: ชื่อผู้วิจัย นางสาว ประภาภรณ์ คำโอภาส
: ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2563
: 380
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 12 คน และกลุ่มครู กศน. จำนวน 236 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน และ ครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มครู กศน. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นประชากรทั้งหมด จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน และครู กศน.ตำบล ซึ่งผู้วิจัยทำการประเมินความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของร่างรูปแบบ และทำการประเมินคุณภาพด้านรูปแบบ ด้านเนื้อหา ด้านการนำไปใช้ของคู่มือการใช้รูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ที่ได้มาจาก ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา และระยะที่ 3 การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มครู กศน. ที่เป็นประชากรทั้งหมด และกลุ่มผู้เรียน จำนวน 254 คน ได้มาจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ตามสัดส่วนของประชากร และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. ประเมินผลการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ โดย 1) ทดสอบความรู้หลังพัฒนา (Post-test) และ 2) ประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ 2. ประเมินผลการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) โดย 1) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด ในปีการศึกษา 2561 กับปีการศึกษา 2562 ในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาต่างประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติ T-test (T-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะชี้แนะแนวทาง (Instructional Coaching Skill) สำหรับปัญหาการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะชี้แนะแนวทาง (Instructional Coaching Skill) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด คือ ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill) ส่วนความต้องการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ (Organizing for Learning Skill) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill)
ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลากร (Man) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Material)
2. รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบของทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้และขั้นตอนการดำเนินงาน (Input) 4) กระบวนการพัฒนาสู่การปฏิบัติ (Process) 5) ผลลัพธ์ (Output) และ 6) เงื่อนไขของรูปแบบ
ซึ่งในการประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ (Organizing for Learning) โดยใช้กิจกรรม 1 : การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ประชุมปฏิบัติการ (Workshop) กับครูเพื่อพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้
ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ (Reflection and AAR) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ประเมินผลการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ โดยทดสอบความรู้หลังพัฒนา (Post-test)
ความถูกต้องของรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ประเมินผลการใช้รูปแบบ โดยประเมินความ พึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อความเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครู
ส่วนคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) ประกอบด้วย 7 ส่วน คือ 1) คำชี้แจงในการใช้คู่มือ 2) บทที่ 1 ที่มาของรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการ เรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) 3) บทที่ 2 ที่มาของรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) 4) บทที่ 3 รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) 5) หลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตรการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) 6) แนวทางการใช้หลักสูตรการพัฒนา ทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) และ 7) ภาคผนวก
ซึ่งในการประเมินคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.73) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บทที่ 3 รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่า คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) เป็นคู่มือที่มีคุณภาพด้านรูปแบบ เนื้อหา และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการใช้ภาษาที่ชัดเจน เหมาะสมและถูกต้องตามหลักภาษา
3. การทดลองใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model)
3.1 ผลประเมินการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ
3.1.1 ผลการทดสอบความรู้หลังพัฒนา (Post-test พบว่า ครู กศน. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีคะแนนการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้อำนวยการเรียนรู้หลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนา
3.1.2 ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะที่ 1 ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะที่ 4 ทักษะให้ข้อมูลย้อนกลับ
3.2 ผลการประเมินการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นอำนวยการ เรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) พบว่า
3.2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทดสอบความรู้หลังพัฒนา (Post-test)
3.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ตอนที่ 3 รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการใช้ภาษาที่ชัดเจน เหมาะสม และถูกต้องตามหลักภาษา
3.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดบรรยากาศ การเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ
3.2.4 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด ในปีการศึกษา 2561 กับปีการศึกษา 2562 พบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยร้อยละของปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 0.19
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.