ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมที่มีต่อการเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กด้อยโอกาส : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดโพธิญาณ จังหวัดพิษณุโลก
The effect of group rational emotive behavior therapy in increasing self-acc

: ชื่อผู้วิจัย ชนานาถ วิไลรัตน์, 2524-
: ตำแหน่ง Position
: การศึกษาพิเศษ
: ปี 2551
: 40

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาในเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Therapy หรือคำย่อ REBT ที่มีต่อการเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กด้อยโอกาส รวมทั้งดูผลของการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กด้อยโอกาสให้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดโพธิญาณ จังหวัดพิษณุโลก อายุระหว่าง 10-13 ปี ไม่จำกัดเพศ ที่มีความสมัครใจและสามารถข้าร่วมโปรแกรมได้จนสิ้นสุดโครงการ ผ่านการทำแบบการยอมรับตนเองได้คะแนนอยู่ระดับปานกลาง ต่ำและต่ำมาก โดยคัดเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนต่ำสุดขึ้นมา จำนวน 2 คน การแบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 13 คนและกลุ่มควบคุม 12 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม มีการดำเนินกลุ่มรวม ครั้ง ๆ ละ 1.5-2 ชั่วโมง รวม 14-16 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม

เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนว REBT ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น และแบบวัดการยอมรับตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไขที่ผู้วิจัยแปลและเรียบเรียงจากแบบวัดการยอมรับตนเองอย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional Self-Acceptance Questionnaire: USAQ) ของเชมเบอลิน (Chamberlian) ทำการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ

กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใน 2 ระยะ คือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเก็บข้อมูลเพื่อดิดตามผลของกลุ่มทดลองต่อเนื่อง 5 สัปดาห์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนการยอมรับตนเองด้วยสถิติ Nonparametric ได้แก่ Wilcoxon Signed - Rank Test และ Mann - Whitney - Test เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งผลการศึกษาสรุปว่า

เด็กด้อยโอกาสกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนว REBT มีคะแนนการยอมรับตนเองสูงขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และไม่มีความแตกต่างระหว่างภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล 5 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมพบว่ากลุ่มทคลองมีคะแนนการยอมรับตนเองสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และกลุ่มควบคุมมีคะแนนก่อนทดลองและหลังทดลองไม่ต่างกัน

จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนว REBT ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนความเชื่อที่ไร้เหตุผล โดยใช้เทคนิคผสมผสานทั้งด้านความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมสามารถเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กด้อยโอกาสได้ และปรับเปลี่ยนอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กด้อยโอกาสให้มีความเหมาะสมมากขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์เพื่อส่งเสริมการยอมรับตนเองในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในสังคมที่ควรได้รับการช่วยเหลือ

หรือพัฒนาด้านสุขภาพจิตต่อไป

`

ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมที่มีต่อการเพิ่มการยอมรับตนเองของเด็กด้อยโอกาส : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดโพธิญาณ จังหวัดพิษณุโลกThe effect of group rational emotive behavior therapy in increasing self-acc is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.