ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความทุ่มเทในงาน : กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง
Relationship between quality of worklife and job involvement : a case study of teachers in a private school

: ชื่อผู้วิจัย อานนท์ จำปา, 2526-
: ตำแหน่ง Position
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2552
: 30

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความทุ่มเทในงาน: กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระตับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ระดับความทุ่มเทในงาน ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในงานกับความทุ่มเทในงานของครูในโรงเรียนอกชนแห่งหนึ่งและเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความทุ่มเทในงานจากคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านต่างๆ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งจำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังต่อไปนี้

1. แบบสอบถามวัดคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ผู้วิจัยพัฒนาจากแบบสอบวัดของเจิดสุดา จันทร์สิริสถาพร (2546) ตามแนวคิดของคัมมิงส์และวอร์เลย์ (Cumming & Worley,1997) วัดองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตในการทำงาน 7 ด้าน ได้แก่ ค่ตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม การพัฒนาศักยภาพ ความมั่นคงและความก้าวหน้า บูรณาการทางสังคม สิทธิในการทำงาน สมดุลของงานและชีวิต และลักษณะงานที่ให้ผลประโยชน์ต่อสังคม จำนวน 36 ข้อมีค่าสัมประสิทธิความเชื่อมั่นเท่ากับ 866

2. แบบสอบถามวัดความทุ่มเทในงานที่ผู้จัยปรับปรุงจากแบบสอบวัดของ วรภาศรีสันติโรจน์(2548) ตามแนวคิดของ คานันโก (Kanungo, 1982) จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .806 การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ติดต่อฝ่ายวิชาการของทางโรงเรียนให้ช่วยอนุคราะห์ในการเก็บข้อมูล โดยแจกแบบสอบถามไปทั้งหมด 153 ฉบับได้รับแบบสอบถามที่ตอบกลับมาอย่างสมบูรณ์ 143 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.7 สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมของครูโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตในการทำงานรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง ด้านสิทธิในการทำงาน ด้านบูรณาการทางสังคม ด้านการพัฒนาศักยภาพ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมและด้านความสมดุลของงานและชีวิตต่ำที่สุด

2. ความทุ่มเทในงานของครูโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับที่สูง

3. คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุ่มเทในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.321 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า

3.1 คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านลักษณะงานที่ให้ผลประโยชน์ต่อสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุ่มเทในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.585 คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุ่มเทในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระตับ .05 โดยมีค่า

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.376

3.3 คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านบูรณาการทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุ่มเทในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.293

3.4 คุณภาพชีวิตในการทำงานต้านความก้าวหน้าและมั่นคงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความทุ่มเทในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05ดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.200

3.5 คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและพอเพียงไม่มีความสัมพันธ์กับความทุ่มเทในงาน

3.6 คุณภาพชีวิตในการทำงานต้านสิทธิในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับความทุ่มเทในงาน

3.7คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสมดุลของงานและชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กับความทุ่มเทในงาน

4. ตัวแปรคุณภาพชีวิตในการทำงานด้าน 4 ด้านคือ ด้านลักษณะงานที่ให้ผลประโยชน์ต่อสังคม ด้านบูรณาการทางสังคม ด้านสมดุลของงานและชีวิต ด้านการพัฒนาศักยภาพ ทำนายความทุ่มเทในงานได้ร้อยละ 38.1

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความทุ่มเทในงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านบูรณาการทางสังคม ด้านสมดุลของงนและชีวิต และต้านการพัฒนาศักยภาพของครูโรงเรียนเอกชน

`

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความทุ่มเทในงาน : กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งRelationship between quality of worklife and job involvement : a case study of teachers in a private school is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.