การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
The development of the experience readiness preparation model for tourism management students
: ชื่อผู้วิจัย รักชนก โสภาพิศ
: ตำแหน่ง Position
: อุดมศึกษา
: ปี 2553
: 34
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 18 คน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว กับรูปแบบการเตรียมความพร้อมแบบปกติ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ให้มีความสามารถในงานบริการและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวให้มีความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วย 3 คุณสมบัติ คือ คุณสมบัติด้านทัศนคติ คุณสมบัติด้านลักษณะนิสัย และคุณสมบัติด้านความรู้และทักษะ เทคนิควิธีการเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งมีขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในห้องเรียน 4 ขั้น คือ 1) สร้างประสบการณ์ (Experience: Eppp) 2)อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Discussion: Dppp) 3) สรุป (Conceptualization: Cppp) และ 4) ประยุกต์ใช้ (Application: Appp) นอกห้องเรียน 3 ส่วนคือ 1) ศึกษาดูงาน (Study Tour: Tppp) 2) สังเกตการณ์ (Observe: Oppp) และ 3) ปฏิบัติ (Practice: Pppp) และรูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.93/89.07 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฎว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวที่เตรียมความพร้อมด้วยรูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับรูปแเบบการเตรียมความพร้อมแบบปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษามีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมในการเตรียมความพร้อมมากที่สุด ในด้านการฝึกทักษะการปฏิบัติ ฝึกการทำงานกลุ่ม ฝึกการแก้ปัญหา ฝึกการสื่อสาร การจัดเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมในการเตรียมความพร้อม และจัดกิจกรรมให้สามารถเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติ
การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวThe development of the experience readiness preparation model for tourism management students is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.