การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
THE DEVELOPMENT OF CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF PROFESSIONAL ADMINISTRATORSHIP IN BASIC EDUCATION SCHOOLS
: ชื่อผู้วิจัย อนุชา กอนพ่วง
: ตำแหน่ง Position
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2550
: 124
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ 1) การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษาจากเอกสารที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วยกร่างรูปแบบ ต่อจากนั้นจึงตรวจสอบรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) แล้วปรับปรุงรูปแบบ 2) การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมช้อมูลจากสถานศึกษา 700 แห่ง และนำข้อมูลพื้นฐานมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรในรูปแบบด้วยโปรแกรม LISREL VERSION 8.72 และ 3) การศึกษาข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพไปประยุกต์ใช้ โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) จากผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบความสัมพันธ์ชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง จำนวน 8 ตัว ซึ่งสามารถวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้จำนวน 33 ตัว
2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยตัวแปรแฝงอื่น ๆ ในรูปแบบ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ได้ร้อยละ 93 โดยที่ภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมการนำ การสนับสนุนภายในสถานศึกษา และบรรยากาศของสถานศึกษา ส่งอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ในขณะเดียวกัน แรงจูงใจคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมการนำ ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ สำหรับพฤติกรรมการนำ ส่งอิทธิพลทางตรงต่อการสนับสนุนภายในสถานศึกษา และบรรยากาศของสถานศึกษา ส่วนภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และแรงจูงใจ ส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อการสนับสนุนภายในสถานศึกษา และบรรยากาศของสถานศึกษา ในขณะที่การสนับสนุนภายในสถานศึกษาส่งอิทธิพลทางตรงเชิงผกผันต่อพฤติกรรมการนำ และสภาพแวดล้อมภายนอก ส่งอิทธิพลทางตรงต่อการสนับสนุนภายในสถานศึกษา
3. ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาชั้นพื้นฐานไปประยุกต์ใช้นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ คุรุสภา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และเขดพื้นที่การศึกษา ควรมีการนำตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษาโดยตรง ได้แก่ ภูมิหลังของผู้บริหารสถานศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจ พฤติกรรมการนำ และความเป็นผู้บริหารมืออาชีพมาพิจารณา ทบทวน การกำหนดคุณสมบัติ มาตรฐานวิชาชีพ นโยบาย และหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตและสรรหา การพัฒนา และการธำรงรักษาผู้บริหารสถานศึกษา นอกจากนี้แล้วผลการวิจัยยังอาจนำไปใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตรการบริหารการศึกษาระดับต่าง ฯ ของสถาบันอุดมศึกษา
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานTHE DEVELOPMENT OF CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF PROFESSIONAL ADMINISTRATORSHIP IN BASIC EDUCATION SCHOOLS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.