แนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมในการพัฒนานิสิตแพทย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
Identifying educational strategy for developing medical student to a state of complete human being
: ชื่อผู้วิจัย เทิดศักดิ์ ผลจันทร์
: ตำแหน่ง Position
: อุดมศึกษา
: ปี 2551
: 48
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาแนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาให้นิสิตแพทย์สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
วิธีการศึกษา ได้แก่
1.สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้มาก 4 กลุ่มได้แก่
1.1 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/การศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ที่มีการจัดการเรียนการสอนถึงชั้นคลินิกแล้วทุกคณะ จำนวน 5 คน
1.2 อาจารย์ในวงการแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนานิสิต จำนวน 6 คน
1.3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนามนุษย์สู่ความสมบูรณ์ผ่านกิจกรรมต่างๆ จำนวน 4 คน
1.4 แพทย์ดีเด่นในชนบทของประเทศ จำนวน 2 คน
2. สนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม คือ
นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 จำนวน 6 คน และนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 6 คน
หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ของข้อความที่ถูกบันทึกไว้ เพื่อค้นหาแก่นสาระและแก่นความหมายของเรื่องที่ศึกษา
ผลการศึกษา พบว่า
ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มต่างๆ เสนอกลยุทธ์ วิธีจัดการศึกษา ที่จะช่วยในการพัฒนานักเรียนแพทย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไว้หลายประการได้แก่
การให้โอกาสผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์ที่เอื้อให้เกิดการพัฒนา โดยเฉพาะได้สัมผัสชีวิตผู้คนที่มีความทุกข์ยากในชุมชนให้เข้าใจตั้งแต่ต้นก่อนการศึกษาเนื้อหาวิชาทางการแพทย์ว่ามีมิติอื่นของชีวิต ชีวิตเรามีความเรื่อมโยงกับผู้คนอื่นๆ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างแยกกันไม่ออก
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ความสำคัญทั้งประสบการณในหลักสูตร และนอก
หลักสูตรทุกอย่าง เช่นการทำกิจกรรมสโมสรนิสิต การรับน้อง ไม่เว้นแม้กระทั่งกิจกรรมสามัญในชีวิตนักเรียนแพทย์ เช่นการอยู่ร่วมกันในหอพัก เป็นต้น
กิจกรรมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ควรได้รับการจัดสรร
ไว้ชัดเจน ทั้งเวลา เนื้อหา และการวัดประเมินผล
ทั้งนี้เวลาในหลักสูตรไม่ควรมีแต่เวลาเรียนวิชาความรู้จนแน่นเกินไปจนไม่มีเวลาให้
ผู้เรียนมีชีวิตด้านอื่นของมนุษย์ เช่นเวลาที่จะมีสุนทรียะในชีวิต หรือเวลาครุ่นคิดพัฒนาตน
การจัดการศึกษาทั่วไป ควรจัดให้สัมพันธ์กับชีวิตและไปให้ถึงการปฏิบัติและพัฒนาสติปัญญาได้จริง
ควรใช้กลยุทธ์ความเป็นชุมชนให้เพื่อนได้มีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาตนของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสนควรเน้นการได้สัมผัสประสบการณ์จริงกับสิ่งที่มีอิทธิพลกระตุ้นความรู้สึกด้านดี หรือปัญญา ซึ่งรวมไปถึงได้สัมผัสประสบการณ์สำคัญคือการเป็นแบบอย่างที่ดีของครู
เน้นให้จัดการเรียนให้ผู้เรียนได้รู้จักการ Reflection ด้วยวิธีการต่างๆ เป็นต้นว่า Reflect ด้วนตนเองผ่านทาง Portfolio, Reflective Diary, การเขียนเรียงความ หรือ Reflect ร่วมกับเพื่อนๆ โดยผ่านทาง เรื่องเล่า (Story Telling) การพูดคุยกันอย่างเปิดใจรับฟัง (Dialogue) หรือ Reflective Blog, Reflective Webboard เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงความจริงของชีวิตและโลกไปตามลำดับของแต่ละคน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยให้เกิด Reflection ครุ่นคิดใคร่ครวญได้ดีควรเน้นการเรียนด้วยตนเอง (Self Directed Learning) การเรียนเป็นกลุ่มย่อยได้ถกแถลง (small Group Discussion) และเรียนจากปัญหาแบบ Problem-based learning
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่จะช่วยให้เกิด Reflection ครุ่นคิดใคร่ครวญได้ดี
ควรเน้นการเรียนด้วยตนเอง (Sef Directed Learning) การเรียนเป็นกลุ่มย่อยได้ถกแถลง (Small Group Discussion) และเรียนจากปัญหาแบบ Problem-based Learning การวัดและประเมินผล ควรเน้นการชี้แนะแบบ Interactive Feedback อย่าง Active ต่อเนื่องทั้งในชั้นเรียนรวมและแบบส่วนตัว การประเมินควรทำในลักษณะที่เป็น Formative และ
ควรเน้น Self Evaluation
นักเรียนแพทย์รู้สึกว่าการประเมินแบบอิงกลุ่มทำให้เกิดความเครียด และทำให้ผู้เรียน
แก่งแย่งแช่งขัน ถ้าเป็นไปได้ควรประเมินแบบ Summative ในลักษณะผ่าน-ไม่ผ่าน ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของความรู้ความสามารถที่ผู้เรียนควรจะมีตามข้อกำหนดขององค์กรวิชาชีพ
การประเมินควรประเมินครบทุกด้านทั้งกาย จิต สังคม และปัญญา ควรใช้เครื่องมือที่
เหมาะสมเช่น Portolio, สังเกตพฤติกรรมโดยตรง 360 องศาและ Authentic Assessment รูปแบบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการประเมินโดยชุมชนมีส่วนร่วมด้วย (Public Contribution)
ให้คุณค่ากับผลการประเมินในด้านอื่นๆ นอกจากต้านความรู้ เช่น นิสิตที่จะได้รับเกียรตินิยมควรต้องพิจารณาเรื่องความประพฤติที่ดีงามเป็นส่วนประกอบด้วย
แนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมในการพัฒนานิสิตแพทย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์Identifying educational strategy for developing medical student to a state of complete human being is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.