ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3

: ชื่อผู้วิจัย กนกวรรณ วุฒิวิชญานันต์,จักรภัฒน์ วงษ์ขวัญเมือง,รีนา โสนันทะ
: ตำแหน่ง Position
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2550
: 121

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3

2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 จําแนกตามขนาดของโรงเรียน

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูที่ปรึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 จํานวน 346 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 21 โรงเรียน ซึ่งได้จากการกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (อ้างอิงจากพวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540. หน้า 303) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของโรงเรียนของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ใช้การวิเคราะหโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาทั้ง 5 ด้าน จําแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยการวิเคราะห์หาค่าที (t-test)

ผลการศึกษาค้นคว้า

1. ปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านที่มีปัญหาสูงสุด ได้แก่ ด้านการคัดกรองนักเรียน รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามลําดับ

2. การเปรียบเทียบปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 จําแนกตามขนาดของโรงเรียน เป็นขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

`

ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.