ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
: ชื่อผู้วิจัย พระมหาจำเริญ เทพมา,สิริกร คำมูล,สมมาตร ยกดี
: ตำแหน่ง Position
: อุดมศึกษา
: ปี 2550
: 30
บทคัดย่อ (Abstract)
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย จำแนกตามระดับชั้น
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ภิกษุสามเณรที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1- 4 ปีการศึกษา 2549 ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 302 รูป ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage)
การวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัยใช้การวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบปัญหาาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย จำแนกตามระดับชั้นปีที่ศึกษา ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : F-test) และหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least significant difference)
ผลการศึกษาค้นคว้า
ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำแนกตามระดับชั้นปีที่ศึกษา โดยภาพรวม พบว่า มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านสื่อการสอน ด้านอาคารสถานที่ ด้านการวัดและประเมินผลมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติตามความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.