แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Education Development Guidelines for Environmentally Friendly Growth

: ชื่อผู้วิจัย กลุ่มพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2562
: 130

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นเรื่องการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แก่ผู้เรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชนในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาและนำเสนอรูปแบบแนวทางการให้การศึกษาที่สร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชนในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบแนวทางการให้การศึกษาที่สร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 4) นำเสนอแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนและชุมชนในพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. บริบทของประเทศไทย ยังคงพบประเด็นปัญหาทางด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเกินศักยภาพของระบบนิเวศที่จะรองรับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ขยะและของเสียอันตรายยังเกินค่ามาตรฐาน ระบบการบริหารจัดการเพื่อการบังคับ ควบคุม การให้สิ่งจูงใจยังไม่สามารถทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติยังคงมีความรุนแรงขึ้น ทั้งอุทกภัย และภัยแล้ง การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ Green Economy Index/Sustainability Index มาใช้เพื่อการบริหารจัดการ บังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพและเป็นธรรม พันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนและเข้มข้นมากขึ้นจากมาตรการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน จึงเป็นความท้าทายที่จะสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร แนวทางการให้การศึกษาที่เสริมสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพแก่ผู้เรียนและชุมชน ในส่วนของสถานศึกษาเองต้องมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่ของผู้เรียน เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกในความตระหนักถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นชนิดพันธุ์พืช สัตว์ รวมไปถึงความหลากหลายของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีความสัมพันธ์และต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นจะต้องมีการสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ซึ่งจะต้องเปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวเข้ามามีบทบาทและ มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและความต้องการของท้องถิ่น สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตจริงทั้งของผู้เรียนและชุมชนในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริง และเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกในความตระหนักถึงความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียน

2. ผลการศึกษาและนำเสนอรูปแบบแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชนในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

3. ผลการใช้รูปแบบแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชน ในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

4. ผลการนำเสนอแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนและชุมชนในพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน

`

แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมEducation Development Guidelines for Environmentally Friendly Growth is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.