ประสิทธิผลของแหล่งการเรียนรู้: การเผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ

: ชื่อผู้วิจัย สุวิมล ว่องวาณิช
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2562
: 191

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญต่อการพัฒนากำลังคนของประเทศให้เป็นบุคคลที่รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษาจึงไม่อิงการศึกษาในระบบอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียนด้วย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนา เครื่องมือประเมินมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ สภาพของแหล่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการนำ มาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและผลที่เกิดขึ้น และ 4) เพื่อจัดทำ แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการจัดแหล่งการเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบให้ได้มาตรฐานที่กำหนด วิธีการ วิจัยใช้การวิจัยสำรวจจากตัวอย่างวิจัยที่เป็นผู้บริหาร ครูอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป และผู้รับผิดชอบบริหารแหล่งการเรียนรู้ รวมทั้งมีการตรวจเยี่ยมในพื้นที่จากกรณี ศึกษาที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ในจังหวัดต่าง ๆ รวม 13 จังหวัดกระจายตามภาคภูมิศาสตร์ และ ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ รวมแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกรณีศึกษาจำนวน 78 แหล่ง เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการสำรวจทางออนไลน์ จำนวนผู้ให้ ข้อมูลเป็นนักเรียน/นักศึกษา ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียน ผู้ปกครองและประชาชน และ ผู้รับผิดชอบดูแลแหล่งการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 8,100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางสถิติ ข้อมูลจากการวิจัยทั้งหมดได้นำมาจัดทำข้อเสนอแนวทาง การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ และมีการเผยแพร่ผลการวิจัยและข้อเสนอ แนวทางฯ ของนักวิจัยในที่ประชุมสาธารณะ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. เครื่องมือสำรวจสภาพของแหล่งการเรียนรู้มี 4 ฉบับ ได้แก่ 1) ฉบับนักเรียน/นักศึกษา 2) ฉบับครูและผู้บริหารสถานศึกษา 3) ฉบับผู้ปกครองและประชาชน และ 4) ฉบับผู้รับผิดชอบ บริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ แบบสอบถามมีคำถามแบบมาตรประมาณค่า และแบบให้เลือกตอบ ความยาวประมาณ 20 ข้อ เครื่องมือสำรวจมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาตามนิยามที่กำหนด มีความเที่ยงด้วยวิธีการหาความสอดคล้องภายในเท่ากับ .848 และมีความตรงเชิงโครงสร้างจาก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

2. สภาพของแหล่งการเรียนรู้เมื่ออิงมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลางค่อนข้างมาก ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับปานกลางค่อนข้างมาก

3. การนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติโดยผู้เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้เกี่ยวข้องในการ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านแหล่งการเรียนรู้ พบว่าส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามีการกำหนดมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้ โดยเน้นเป้าหมายการให้จัดกิจกรรมบริการ ไม่ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่าผู้เกี่ยวข้องเห็นว่าแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะหน่วยงานระดับชาติ ควรประสานความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานระดับกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับการมีบทบาทในการ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านแหล่งการเรียนรู้ที่หน่วยงานรับผิดชอบ นอกจากนี้ควรส่งเสริม การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน แหล่งการเรียนรู้การศึกษาแบบเปิด (Open Education Resources, OERs) ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคดิจิทัล และควรมีการติดตามประเมินผลสภาพของ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และมาตรฐานของการจัดการแหล่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

`

ประสิทธิผลของแหล่งการเรียนรู้: การเผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.