รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

: ชื่อผู้วิจัย สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2562
: 151

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

ปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีซึ่งส่งผลต่อระบบการศึกษาของประเทศอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้กระบวนการในการจัดการศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความท้าทาย ดังกล่าว ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะพยายามเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ดีขึ้นก็ตาม แต่ยังประสบปัญหาในหลายด้านต่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งเกิดจากคุณภาพการจัด การเรียนการสอนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้การพัฒนา ด้านการศึกษาไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาประเทศเท่าที่ควร

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ที่จัดขึ้นโดย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงเป็นส่วนหนึ่งในการวัดและประเมินผลคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา และคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาแต่ละแห่งด้วย เมื่อพิจารณาคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีผลคะแนนเฉลี่ยตํ่าในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการศึกษายังขาดคุณภาพและมาตรฐาน ในทุกระดับทั้งนี้นโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐและแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้คนทุกช่วงวัย มีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ ซึ่งมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

จากแนวโน้มของผลการทดสอบที่พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในรอบ 5 ปี 2556 - 2560 พบว่า วิชาสังคมศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีแนวโน้มลดลง เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยรวมทุกวิชาจำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่า กรุงเทพมหานคร มีค่าร้อยละของผู้เรียนที่ได้มากกว่าร้อยละ 50 และค่าร้อยละของผู้เรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่าระดับประเทศอยู่ในกลุ่มสูงสุด และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) มีค่าร้อยละของผู้เรียนอยู่ในกลุ่มตํ่าสุด

ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในกรณีสถานศึกษาทุกสังกัด พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลฯ ที่สอดคล้องตรงกันทั้ง 3 ระดับชั้น (ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย) คือ เป็นสถานศึกษาที่มีผู้เรียนเข้าสอบทั้งหมด จำนวนมาก เป็นสถานศึกษาเอกชนหรือสถานศึกษาสาธิตของมหาวิทยาลัยของรัฐ สถานศึกษาที่มีผู้เรียนเพศหญิงเข้าสอบในสัดส่วนสูง สถานศึกษาอยู่ในเขตเมือง สถานศึกษาอยู่ในจังหวัดที่ประชากร มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีสูง สถานศึกษามีผลการประเมินสถานศึกษาทั้งด้านคุณลักษณะของผู้เรียน ด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและด้านการบริหารจัดการของสถานศึกษา ได้คะแนนอยู่ในระดับสูง และสถานศึกษาที่ไม่อยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนในกรณีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเพิ่มเติมจากที่กล่าวแล้ว คือ เป็นสถานศึกษา ที่มีจำนวนครูมากกว่าจำนวนครูตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สถานศึกษามีอัตราส่วนผู้เรียนต่อห้องตํ่า สถานศึกษาที่มีสัดส่วนของครู ที่มีวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) ขึ้นไปสูง

สรุปผลกรณีศึกษาในสถานศึกษาที่มีระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงเกินค่าเฉลี่ยของประเทศ

จากการเก็บข้อมูลสถานศึกษาทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา โรงเรียน อรรถมิตร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนสฤษดิเดช โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และโรงเรียนธิดานุเคราะห์และนำมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้

ด้านการบริหารจัดการ การวางแผนและนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน/การจัดการเรียนรู้

ด้านผู้บริหารสถานศึกษา

ด้านครูผู้สอน

ด้านผู้เรียน

ด้านเครือข่ายผู้ปกครอง

ด้านการสนับสนุนงบประมาณ

`

รายงานแนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.