รายงานผลการวิจัยแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ
: ชื่อผู้วิจัย สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
: ตำแหน่ง -
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2562
: 232
บทคัดย่อ (Abstract)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้พัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติพ.ศ. 2561 ขึ้นโดยได้ระบุ คุณลักษณะผู้เรียน 3 ด้านประกอบด้วย ผู้เรียนรู้ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และพลเมืองที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตได้ดี สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นทั้งใน ปัจจุบัน และในอนาคต คุณลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษา ของประเทศที่มุ่งให้มีการจัดการศึกษาให้คนไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐาน ในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาตินั้น เน้นความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ซึ่งเป็นไปเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจ ในชาติสามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติเป็นพลเมืองดี มีคุณภาพและความสามารถสูง พัฒนาตนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งยังคาดหวังให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษาสามารถเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
ด้วยตระหนักว่าการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิบัติมีความสำคัญ เป็นหัวใจของการ ดำเนินงานจัดการศึกษา และมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง ตลอดจนส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วน และมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องหลายลักษณะทั้งส่วนนโยบาย ส่วนประสานงาน และส่วนปฏิบัติการ อีกทั้งมีภารกิจสำคัญที่ เกี่ยวข้องหลายประการโดยเฉพาะการบริหารจัดการในลักษณะใหม่ การเชื่อมโยงและปรับเปลี่ยนในส่วนของ หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้เกี่ยวข้องแต่ละส่วน แต่ละภารกิจนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเข้าใจมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดขึ้นอย่าง ชัดเจน อีกทั้งเข้าใจแนวทางในการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติด้วย ที่สำคัญต้องวิเคราะห์ ภารกิจ จัดทำรายละเอียดการดำเนินการที่สอดคล้อง และเตรียมพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจบทบาท ของตนเองในการนำสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษาของชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติ สู่การปฏิบัติขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการนำมาตรฐานการศึกษาสู่การปฏิบัติในระดับ นโยบาย ระดับการกำกับติดตาม การสนับสนุนส่งเสริม และระดับปฏิบัติเพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทเรียนจาก ต่างประเทศเกี่ยวกับกลไกการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติและเพื่อสังเคราะห์แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในการวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็นผู้ให้ข้อมูลผ่านออนไลน์ ครอบคลุมทุกสังกัด จำนวน 284 คน และผู้ให้ข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจำนวน 49 คน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การทำงานในระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 22 คน การอาชีวศึกษาจำนวน 14 คน และการอุดมศึกษา จำนวน 13 คน โดยได้ดำเนินการ 4 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการวางแผนการวิจัย ศึกษาข้อมูลการจัดการศึกษา และการนำมาตรฐาน สู่การปฏิบัติในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการจัดการศึกษา การนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในปัจจุบัน และยกร่างสังเคราะห์แนวทางการนำมาตรฐาน การศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติขั้นตอนที่ 3 พิจารณาร่างแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในภาพรวมและยกร่างแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในแต่ละระดับ และ ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงร่างแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ พื้นฐาน คือ ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
รายงานผลการวิจัยแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.