การพัฒนากระบวนทัศน์รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่
: ชื่อผู้วิจัย กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2562
: 33
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนากระบวนทัศน์รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูพร้อมข้อเสนอ เชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ มีวัตถุประสงค์3 ประการ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูตาม แนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ 2) พัฒนากระบวนทัศน์รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิด เครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่และที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาตามประเด็นสำคัญที่ต้อง เร่งพัฒนา และตามประเภทสถานศึกษา และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) แบบ Exploratory Sequential Design ผู้ให้ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้แบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 สถาบันผลิตครู ประกอบด้วย สถาบันผลิตครูในกลุ่มมหาวิทยาลัยหลัก (กลุ่มมหาวิทยาลัยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) สถาบันผลิตครูในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ สถาบันผลิตครูอื่น ๆ ตามความเหมาะสมตามสภาพบริบทของพื้นที่ และกลุ่มที่ 2 สถานศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนในสังกัด สพฐ. สังกัด กทม. สังกัด อปท. และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชนที่เคยได้รับบริการ หรือคาดว่าจะรับบริการพัฒนาครูจากสถาบันผลิตครู ในพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูลจากสถาบันผลิตครูประกอบด้วย 1) บุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ด้านทรัพยากรมนุษย์และการให้บริการวิชาการด้านการพัฒนาครู2) ผู้บริหารระดับคณะฯ ระดับ ภาควิชาฯ ระดับหลักสูตรฯ ของสถาบันผลิตครูและ 3) คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครู จำนวนรวมทั้งสิ้น 361 คน และผู้ให้ข้อมูลจากสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) บุคลากรในฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาครูของสถานศึกษา 2) ผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูหัวหน้าแผนก/กลุ่มสาระ และ 3) ครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูในปัจจุบัน และในอนาคต จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,541 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่นักวิจัยทีมกลาง ได้พัฒนาขึ้น มี4 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบเก็บรวบรวมข้อมูลสถาบันผลิตครู 2) แบบเก็บรวบรวมข้อมูล สถานศึกษา 3) แบบสอบถามสถาบันผลิตครูและ 4) แบบสอบถามสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ความต้องการจำเป็น (PNImodified) แล้วนำผลที่ได้มาร่างกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบาย รูปแบบและกลไก การพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ และทำการตรวจสอบด้วย เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แล้วทำการปรับปรุง แก้ไขร่างกระบวนทัศน์รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ พร้อม ข้อเสนอเชิงนโยบายรูปแบบและกลไก การพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ เป็นฉบับสมบูรณ์
การพัฒนากระบวนทัศน์รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.