การพัฒนาต้นแบบระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

: ชื่อผู้วิจัย กลุ่มนโยบายการศึกษาเฉพาะด้าน สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
: ตำแหน่ง -
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2563
: 345

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การพัฒนาระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัล (Digital Credit Bank System: DCBS) จึงเป็น การสนับสนุนการดำเนินงานตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และสอดรับกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกระบวนการทางเศรษฐกิจ ความต้องการของตลาดแรงงานและ การศึกษา เพื่อให้การเทียบโอนความรู้ทักษะ ประสบการณ์ของบุคคลเป็นไปอย่างมีระบบและน่าเชื่อถือ การมีระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ทักษะ และประสบการณ์ของบุคคลที่ใช้ระบบ เทคโนโลยีดิจิทัลในลักษณะของดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) เพื่อการเทียบโอนความรู้ ความสามารถ ให้กลายเป็นหน่วยกิตในวิชาตามหลักสูตรฐานสมรรถนะระดับอุดมศึกษาในรูปของ คลังหน่วยกิต เพื่อให้บุคคลได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง ยกระดับฝีมือแรงงาน และสามารถศึกษาต่อ ในหลักสูตรที่สร้างความก้าวหน้าในอาชีพ ผ่านทางการสะสมความรู้ทักษะ และประสบการณ์เก็บไว้ ในรูปของหน่วยกิต ให้บุคคลได้พัฒนาตนเองตามความพร้อมในด้านเวลาและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องผ่านประสบการณ์จากการทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันข้อมูลในระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัล ยังเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาและสถานประกอบการ ในการนำข้อมูล มาใช้จัดหลักสูตรที่เหมาะสม

จากสถานการณ์ในปัจจุบันดังกล่าว ทั้งปัญหาการศึกษา การเชื่อมโยงการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การเทียบโอนความรู้ทักษะ และประสบการณ์ที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองนโยบายและพัฒนาการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนสำหรับบุคคล จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่เป็นต้นแบบของกลไกการขับเคลื่อนระบบคลังหน่วยกิตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้จะทำให้เกิดระบบคลังหน่วยกิตในรูปแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลไปใช้พัฒนาระบบการเทียบโอน ระหว่างระบบประเภทการศึกษา และกลไกการขับเคลื่อนระบบคลังหน่วยกิตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้สำหรับประเทศไทย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านเครื่องมือและกลไกการดำเนินงานส่งเสริม และขยายผลการใช้ระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมของการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระบบคลังหน่วยกิตของประเทศไทย 7 ประการได้แก่

1. กลไกส่งเสริมการปรับตัวของคนในสังคม โดยการประชาสัมพันธ์ในสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนัก การรับรู้ในเรื่องการเท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการทำงานให้บุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับและประเภทการศึกษา ทั้งในระบบการศึกษา คนที่ทำงานในตลาดแรงงาน รวมถึงผู้ว่างงาน ให้เห็นช่องทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างยืดหยุ่น ปรับตัว ลดปัญหาการว่างงาน และปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ

2. กลไกการสร้างและส่งเสริมความเข้าใจการศึกษาตลอดชีวิตและระบบคลังหน่วยกิตโดยการกำหนดการศึกษาตลอดชีวิตและระบบคลังหน่วยกิตไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติซึ่งระบบคลังหน่วยกิตเป็นระบบที่จะรองรับการศึกษาทุกรูปแบบ ทุกระดับและประเภทการศึกษา อันจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ

3. การกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างเป็นทางการ ให้กับทุกหน่วยงานให้มีโครงสร้างทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตและระบบคลังหน่วยกิต โดยเชื่อมโยงการดำเนินงานไว้ที่หน่วยงานกลางระดับประเทศที่มีความเป็นกลาง เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

4. กลไกการกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเทียบโอนความรู้ทักษะและประสบการณ์ ได้แก่ สภาวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงการสอบมาตรฐานและไม่ใช่มาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาในการเทียบความรู้ทักษะ และประสบการณ์บุคคลที่เกิดจากการทำงาน การวัดประเมินความรู้ทักษะและประสบการณ์กลไกการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Public-Private Partnership) ด้วยมาตรการทางผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น มาตรการทางภาษีที่ลดภาษีให้ภาคเอกชนที่สนับสนุนบุคคลเข้ารับการพัฒนาความรู้ทักษะ ความสามารถในระบบการศึกษาที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน หรือร่วมพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ทักษะ ความสามารถใหม่ที่ทันสมัยส่วนภาครัฐมีการกำหนดการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ลดขั้นตอน ลดกระบวนการทางเอกสาร เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนร่วมสร้างความร่วมมือ

5. การใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติในการกำหนดเทียบมาตรฐานเชื่อมโยงกัน ระหว่างหน่วยงานรับรองมาตรฐานกับหน่วยงานทางการศึกษา ผ่านทางระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัล เพื่อสร้างการเทียบโอนที่เป็นที่ยอมรับระหว่างหน่วยงานโดยมีหน่วยงานรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางร่วมพัฒนา

`

การพัฒนาต้นแบบระบบคลังหน่วยกิตดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.