การพัฒนากระบวนการเรียนรู้สมอลล์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
Development of Small Learning Process to improve ability to learn Thai and English vocabulary Using the concept of multisensory tactics and peer-to-peer techniques.
: ชื่อผู้วิจัย นาย ภาณุพงศ์ ธงศรี
: ตำแหน่ง ครู
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2565
: 357
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของแนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้สมอลล์ พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
3) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนรู้สมอลล์ พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แผนดำเนินกิจกรรมการสอนภาษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย 2) บัญชีคำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย 3) แบบทดสอบคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. องค์ประกอบของแนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส
สรุปได้ว่า กลวิธีพหุประสาทสัมผัส เป็นการใช้ประสาทสัมผัสมากกว่า 2 อย่างขึ้นไปร่วมกันในการเรียนรู้ ผ่านระบบประสาทเป็นระบบในร่างกายที่ช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ บางครั้งใช้ประสาทสัมผัสมากกว่าหนึ่งเพื่อเรียนรู้บางสิ่ง เช่น การใช้การได้ยินและการมองเห็น จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส สามารถสังเคราะห์ ขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ สามารถสังเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ของแนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส ได้ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การสำรวจคำศัพท์ (Survey) และ 2) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนด้วยการแบ่งปันสิ่งที่รู้ให้กันและกัน คือ คนเก่งช่วยคนอ่อน คนที่เข้าใจสอนคนที่ไม่เข้าใจ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน ปฏิบัติ ประเมินผลสามารถสังเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ของแนวคิดเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนได้ 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การจดจำคำศัพท์ (Memorize) และ 2) กิจกรรมผ่านคำศัพท์ (Active)
2. กระบวนการเรียนรู้สมอลล์ พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน โดยกระบวนการเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 สำรวจคำศัพท์ (Survey) ขั้นตอนที่ 2 จดจำคำศัพท์ (Memorize) ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมผ่านคำศัพท์ (Active) และขั้นตอนที่ 4 เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)
3. ผลการใช้กระบวนการเรียนรู้สมอลล์ พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
3.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยโดยใช้กระบวนการเรียนรู้สมอลล์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการสอนภาษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาไทยโดยใช้กระบวนการเรียนรู้สมอลล์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้สมอลล์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดกลวิธีพหุประสาทสัมผัส และเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนDevelopment of Small Learning Process to improve ability to learn Thai and English vocabulary Using the concept of multisensory tactics and peer-to-peer techniques. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.