รายงานการนิเทศเรื่องผลการใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อยช่วยเพื่อน (Peer Coaching) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
Supervision Report on The Results of Using The Peer Coaching Process to Develop Teaching and Learning English under The New Normal of English Teachers in Schools under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1
: ชื่อผู้วิจัย นาย มณีวัฒน์ ชัยประเสริฐ
: ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2564
: 114
บทคัดย่อ (Abstract)
ชื่อผลงาน รายงานการนิเทศเรื่องผลการใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(Peer Coaching)เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้
ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
ชื่อผู้ศึกษา นายมณีวัฒน์ ชัยประเสริฐ
คำสำคัญ กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนภาษาอังกฤษ การสอนภาษาอังกฤษ
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษต่อผลการนำกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ไปพัฒนาการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษต่อกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 30 คน โดยครูทุกคนผ่านการอบรมตามโครงการ Boot Camp ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีผลสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ Common European Framework of Reference for Language (CEFR) อยู่ในระดับ A2 ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน แบบสอบถามครูผู้สอน ในการเตรียมความพร้อมในการนำกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนไปจัดการเรียนการสอน แบบนิเทศติดตามผลการนำกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อกระบวนการนิเทศแบบเพื่อน ช่วยเพื่อน โดยผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าร้อยละ (%)
ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในการนำกระบวนการนิเทศ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยผู้ศึกษาขอนำเสนอผลการศึกษา 3 รายการ ดังนี้
1.1 ผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ เรื่อง การใช้ กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พบว่า ครูภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.00 ส่วนระดับมากร้อยละ 40.00 และระดับพอใช้ร้อยละ 10.00
1.2 ผลการศึกษาความคิดของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในการเตรียมความพร้อมในการนำกระบวนการนิเทศการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ไปจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยภาพรวมครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มีการเตรียมความพร้อมในการนำกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ไปจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อยู่ในระดับมาก (µ = 4.22, σ= 0.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น ความคิดเห็นพบว่า ครูผู้สอนมีความพร้อมอยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ เรียงลำดับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการกระจายของคะแนนน้อยไปหามากได้ดังนี้ คือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการใช้ภาษาจากการลองผิดลองถูกในภาษามีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.20, σ= 0.40) รองลงมาคือ บันทึกข้อมูลผลการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำมาวางแผนในการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไปมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.40, σ= 0.42) ส่วนประเด็นความคิดเห็นที่มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายของคะแนน มากที่สุด คือ ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดหรือมีโอกาสในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.16, σ= 0.94)
1.3 ผลการศึกษาการนิเทศติดตามครูผู้สอนภาษาอังกฤษในการนำกระบวนการนิเทศการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) พบว่า จากการนิเทศติดตามครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีการดำเนินการปฏิบัตินำกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ไปพัฒนาการจัด การเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.88, σ= 0.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นความคิดเห็นพบว่า ครูผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกประเด็น เรียงลำดับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการกระจายของคะแนนน้อย ไปหามากได้ดังนี้ คือ นำข้อมูลผลการนิเทศมาใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.96, σ= 0.18) รองลงมาคือ จัดกิจกรรมสอดคล้องกับจุดประสงค์ ของบทเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.93, σ= 0.25) ส่วนประเด็นที่มีค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายของคะแนนมากที่สุด คือ ใช้การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ในการจัดการเรียนการสอนให้มากที่สุด มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด (µ = 4.83, σ= 0.89)
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษต่อกระบวนการนิเทศแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ต่อกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.78, σ= 0.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นความคิดเห็นพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น เรียงตามลำดับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการกระจายของคะแนนน้อย ไปหามากได้ดังนี้ ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพผู้เรียน (µ = 5.00, σ= 0.00) รองลงมาคือ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนช่วยเหลือเพื่อนครู ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (µ = 4.90, σ= 0.33) ส่วนประเด็นความคิดเห็นที่มีค่าเส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีการกระจายของคะแนนมากที่สุด คือ ส่งเสริมการนำวิธีการใหม่ที่ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน (µ = 4.63, σ= 0.49)
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลัง การใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไปในปีการศึกษา 2563 (ก่อนการใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน) มีค่าร้อยละ 56.30 ในปีการศึกษา 2564 (ภายหลังการใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน) มีค่าร้อยละ 62.60 เมื่อเปรียบเทียบกันจะเห็นว่ามีคะแนนพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.30
Independent Study Title Supervision Report on The Results of Using
The Peer Coaching Process to Develop Teaching
and Learning English under The New Normal
of English Teachers in Schools under
Samut Prakan Primary Educational Service
Area Office 1
Author Mr. Maneewat Chaiprasert
Keywords Peer Coaching Process Teaching English New Normal
The Independent Study is an application for promotion to a senior professional – Level Educational Supervisor
Period Academic Year 2021
Published on January 2024
Abstract
The purposes of the study are to 1) Study English teachers' opinions on the results of using the Peer Coaching process to develop teaching and learning English under the New Normal in schools under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 2) Study English teachers' opinions on the Peer Coaching process and 3) To compare the English learning achievement of students before and after using the Peer Coaching process to develop teaching and learning English under the New Normal of English teachers in schools under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1. The target group used in this study was composed of 30 English teachers from schools under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, the teachers had undergone training in the Boot Camp project of the Office of the Basic Education Commission and had an English proficiency test result of the Common European Framework of Reference for Language (CEFR) at level A2 or higher. The instruments used to collect data were a knowledge and understanding test on the use of the Peer Coaching process, a questionnaire for teachers in preparing to use the peer coaching process in teaching and learning English, a supervision form to follow up on the implementation of the peer coaching process to develop teaching and learning English, and a questionnaire on English teacher’s opinions on the peer coaching process. The researcher had collected the data myself. The data collected were analyzed by using derive means (µ), standard deviation (σ), and percentage (%). The results of the study can be summarized as follows:
1. The results of the Study English teachers' opinions on the results of using the Peer Coaching process to develop teaching and learning English under the New Normal in schools under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, the researcher would like to present the results of 3 studies as follows:
1.1 The results of the test to measure the knowledge and understanding of English teachers on the use of the Peer Coaching process to develop teaching and learning English under the New Normal, it was found that most English teachers have knowledge and understanding at the highest level is equal to 50.00 percent, with a high level is equal to 40.00 percent and a fair level is equal to 10.00 percent.
1.2 The results of the study of the English teachers' opinions in preparation for using the Peer Coaching process to develop teaching and learning English under the New Normal in the classroom, it was found that most English teachers could prepare for applying the Peer Coaching process to teaching English under the New Normal at a high level (µ = 4.22, σ= 0.08) when considered on a case-by-case basis, it was found that the teachers are mostly prepared at a high level, then arrange the standard deviation values from the lowest to the highest distribution of scores as follows: Allowing learners to learn from using language through trial and error in the language and practice was at a high level (µ = 4.20, σ= 0.40), Followed by recording data on teaching and learning management results to be used in planning the next teaching and learning program, readiness was at a high level (µ = 4.40, σ= 0.42). As for the opinion issue with the standard deviation with the greatest distribution of scores, it was activity design. Teaching and learning encourage students to think or have the opportunity to work with others to be ready for learning. readiness was at high level (µ = 4.16, σ= 0.94)
1.3 Results of the study of supervision and monitoring of English teachers in applying the peer coaching process to develop English teaching under the new normal. It was found that the English teachers could implement the Peer Coaching process to develop teaching English under the new normal, schools under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1, overall have the highest level of practice (µ = 4.88, σ= 0.04) when considering on a case-by-case basis, it was found that teachers' performance is at the highest level in every aspect. Sort the standard deviation from the distribution of the least scores. This can be done as follows: Use information on the results of supervision to improve teaching and learning English. Practice was at the highest level (µ = 4.96, σ= 0.18), Followed by organizing activities in line with the objectives. of the lessons were practiced at the highest level (µ = 4.93, σ= 0.25). The standard deviation with the highest distribution of scores was using English communication. Organizing teaching and learning as much as possible has the highest level of practice (µ = 4.83, σ= 0.89)
2. Results of the study of English teachers' opinions on the peer coaching process found that, overall, the opinions of English teachers towards the peer coaching process are appropriate at the highest level (µ = 4.78, σ= 0.11). When considering each issue, it was found that. It is appropriate at the highest level in every issue. Sorted in order of the standard deviation from the distribution of least scores. Could find a lot like this: Promote collaborative learning to find the best methods for promoting and developing student performance (µ = 5.00, σ= 0.00), Followed by encouraging teachers to help fellow teachers in developing teaching and learning to improve student learning (µ = 4.90, σ= 0.33). As for the opinion issue with the standard deviation with the highest distribution of scores, it is promoting the use of new methods. Learn from exchanges with each other to use in teaching and learning (µ = 4.63, σ= 0.49)
3. Comparative results of English learning achievement of students before and after Using the Peer coaching process to develop English teaching under the new normal of English teachers in schools under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 found that the English learning achievement of students in Grade 1 to Grade 12 who received level 3 or higher in the 2020 academic year (before using the peer coaching process) was 56.30 percent in the 2021 academic year (After using the peer coaching process) the value was 62.60 percent. When compared, it can be seen that there was an increase in the development score of 6.30 percent.
รายงานการนิเทศเรื่องผลการใช้กระบวนการนิเทศแบบเพื่อยช่วยเพื่อน (Peer Coaching) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1Supervision Report on The Results of Using The Peer Coaching Process to Develop Teaching and Learning English under The New Normal of English Teachers in Schools under Samut Prakan Primary Educational Service Area Office 1 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.