การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1
: ชื่อผู้วิจัย นางสาว ทิชา พรมดี
: ตำแหน่ง มหาสารคาม
: ปฐมวัย
: ปี 2567
: 66
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง ที่มีอายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ห้องเรียน 1 ห้อง จำนวน 18 คน ของโรงเรียนอนุบาลกิติยา อำเภอมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน จำนวน 8 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะทางสังคม โดยสังเกตพฤติกรรมทักษะทางสังคม ได้แก่ การช่วยเหลือผู้อื่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมารยาทในการเข้าสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน โดย T-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน มีคะแนนรวมเท่ากับ 162 มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 9 และหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีคะแนนรวมเท่ากับ 240 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.33 ส่วนคะแนนความก้าวหน้า มีคะแนนรวมเท่ากับ 77 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และคิดเป็นร้อยละ 27.06
2. คะแนนการพัฒนาทักษะทางสังคมหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม
เป็นฐานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทั้งโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด คือ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น มีค่าความก้าวหน้าเท่ากับ 27 รองลงมา คือ ด้านการมีมารยาทในการเข้าสังคม เท่ากับ 25 และด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เท่ากับ 25 ตามลำดับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.