การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยใช้กิจกรรมโยคะ ตามแนวคิดทฤษฎีของกีเซลล์ (Gesell) สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลกิติยา

: ชื่อผู้วิจัย นางสาว ขัตติยา ดวงศรี
: ตำแหน่ง ครู
: ปฐมวัย
: ปี 2567
: 5

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกายของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมโยคะ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของพัฒนาการด้านร่างกายของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ในทักษะต่างๆที่ได้รับการจัดกิจกรรมโยคะ

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 อายุช่วงวัย 4 – 5 ปี จำนวน 20 คน โรงเรียนอนุบาลกิติยา ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมโยคะเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2) แบบสังเกตทักษะปฏิบัติพัฒนาการด้านร่างกาย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมโยคะตามแนวคิดทฤษฎีของกีเซลล์(Gesell) เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

`

การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ โดยใช้กิจกรรมโยคะ ตามแนวคิดทฤษฎีของกีเซลล์ (Gesell) สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลกิติยา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.