รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Area Based Social Innovation Development Model for small-sized Secondary school in the Northeast of Thailand
: ชื่อผู้วิจัย นาย เทพรัตน์ ศรีคราม
: ตำแหน่ง ครู
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2567
: 2
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้นวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methodology) แบบแผนเชิงสำรวจ (The Exploratory Sequential Design) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของนวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การศึกษารายกรณี (Case Study) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ และเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 โรงเรียน โดยใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้นวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis หรือ EFA) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยของกลุ่มตัวอย่างได้กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 200 แห่ง และระยะที่ 3 เป็นการสร้างรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติด้วยเทคนิค (Multi-Attribute Consensus Reaching : MACR) และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้นวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การนำไปปฏิบัติเชิงพื้นที่ มี 6 ตัวบ่งชี้ 2) การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การหาความต้องการเชิงพื้นที่ มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) วัฒนธรรมองค์กร มี 1 ตัวบ่งชี้ 5) ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ มี 2 ตัวบ่งชี้
2) ผลจากการสร้างรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ได้รูปแบบที่ประกอบด้วย 6 ส่วนคือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและแนวคิด 3) วัตถุประสงค์ 4) วิธีปฏิบัติ 5) เป้าหมายความสำเร็จ และ 6) กลไกลขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ซึ่งมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.60, S.D. = 0.49) มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.62, S.D. = 0.54) และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.73, S.D. = 0.33)

รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเชิงพื้นที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือArea Based Social Innovation Development Model for small-sized Secondary school in the Northeast of Thailand is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.