การพัฒนารูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ
The new and efficient monitoring and evaluation model development for policy implementation of the Office of the Basic Education Commission

: ชื่อผู้วิจัย ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์
: ตำแหน่ง -
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2564
: 3195

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา แนวทางกระบวนการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินงานตามนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่

วิถีคุณภาพ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อสร้างรูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ และ 4) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยการผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา แนวทาง กระบวนการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ 4 ด้านคือ มิติด้านโอกาส มิติด้านคุณภาพ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านความปลอดภัย โดยสรุปได้แก่ สภาพการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาที่พบในการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวทางการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ กระบวนการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

1) สภาพการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มิติด้านโอกาส มีสภาพในการดำเนินการ คือ ปริมาณของเด็กด้อยโอกาสมีจำนวนมากเกินกว่าความสามารถของโรงเรียน แม้จะมีหน่วยงานของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ มาช่วยเหลือก็ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลง ครูและบุคลากรด้านการแนะแนวไม่เพียงพอ นักเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยากลำบากในการเดินทาง การคมนาคมไม่สะดวก ปัญหาครอบครัวของนักเรียน เช่น ความยากจน การหย่าร้าง นักเรียนต้องขาดเรียนไปทำงานเลี้ยงดูครอบครัว ความเป็นอยู่ไม่ปลอดภัย ห่างไกลจากชุมชน เดินทางมาเรียนลำบากไม่มียานพาหนะมา

มิติด้านคุณภาพ มีสภาพในการดำเนินการ คือ มีบุคลากรและครูเฉพาะทางไม่เพียงพอบางพื้นที่ยังใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานน้อย ทำให้ขาดความทันสมัยและไม่ทันต่อเหตุการณ์ ความแตกต่างและความหลากหลายของนักเรียนในพื้นที่ที่มีความพร้อมต่างกัน

มิติด้านประสิทธิภาพ มีสภาพในการดำเนินการ คือ ระยะเวลาและงบประมาณเป็นสำคัญ งบประมาณในการดำเนินงานมีอย่างจำกัดและไม่ทั่วถึง บุคลากรในการดำเนินงานไม่เพียงพอ โรงเรียนแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกันจึงต้องมีการดำเนินงานที่แตกต่างกันไป การประเมินหรือนิเทศติดตามมีขั้นตอนมากเกินไปและข้อจำกัดด้านงบประมาณในการขับเคลื่อน มิติด้านความปลอดภัย มีสภาพในการดำเนินการ คือ ผู้ปกครองและครอบครัวของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ การคมนาคมไม่สะดวกและบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเดินทาง โรคอุบัติเหตุใหม่ เช่น โควิด 19 และจากปัญหายาเสพติด การทะเลาะวิวาท ขาดการประสานงานระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนยังขาดสมรรถนะเพียงพอที่จะขับเคลื่อนตนเอง และขับเคลื่อนการดำเนินงานให้นักเรียนและองค์กรให้มีความปลอดภัยสูงสุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบางแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ มีภาวะเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย

2) ปัญหาที่พบในการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มิติด้านโอกาส มีปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการ คือ หน่วยงานระดับสูงไม่เห็นความสำคัญของการสร้างโอกาสอย่างแท้จริง โดยใช้ความพยายามในการยุบ ควบ รวมโรงเรียนเล็ก ๆ ที่อยู่ในชุมชนและเป็นโรงเรียนที่สร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างแท้จริง ปัญหางบประมาณ สื่อ และอุปกรณ์ไม่เพียงพอในการดำเนินงาน ครูและบุคลากรด้านการแนะแนวไม่เพียงพอ

มิติด้านคุณภาพ มีปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการ คือ มีข้อจำกัดด้านเกณฑ์อัตรากำลังที่กระทบต่อจำนวนครูโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กอย่างมาก ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายการสร้างโอกาสและสร้างคุณภาพแต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปิดกั้นการสร้างโอกาสและสร้างคุณภาพ ระยะเวลาในการดำเนินงานไม่เพียงพอเนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่ต่อเนื่อง

มิติด้านประสิทธิภาพ มีปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการ คือ นโยบายเบื้องบนปรับเปลี่ยนตามตัวบุคคลเร็วเกินไป การพัฒนางานปรับเปลี่ยนไม่ทัน ความคล่องตัวในการบริหารค่อนข้างเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ การดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพชุมชนมีหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานไม่ชัดเจนในเบื้องต้น มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาเป็นนโยบายที่มีความเร่งด่วนส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายบ่อยครั้ง ระยะเวลาและงบประมาณเป็นสำคัญ งบประมาณในการดำเนินงานมีอย่างจำกัดและไม่ทั่วถึง นโยบายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจนเกินไป

มิติด้านความปลอดภัย มีปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการ คือ สถานศึกษาขาดความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในแนวทางและมาตรการในการดูแลคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน จำนวนนักเรียนมีจำนวนมาก บุคลากรไม่เพียงพอทำให้รับผิดชอบหลายหน้าที่และขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติด้านความปลอดภัย งบประมาณด้านสื่อ และอุปกรณ์ไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรมและให้ความรู้ ในการดำเนินการตามมาตรการด้านความปลอดภัย

3) แนวทางการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ

มิติด้านโอกาส มีแนวทางการติดตามการดำเนินงาน คือ การสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน การดำเนินการให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ การดำเนินการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันไม่ให้ออกจากระบบการศึกษาและการดำเนินการส่งเสริมผู้เรียนที่ด้อยโอกาส

มิติด้านคุณภาพ มีแนวทางการติดตามการดำเนินการในการส่งเสริมการจัดการศึกษา ให้ผู้เรียนในด้านหลักสูตร ทักษะการเรียนรู้ สมรรถนะของผู้เรียน การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่หลากหลายในการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนในมีคุณภาพ ทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีระบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณและจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่ทันการณ์และมีคุณภาพเพียงพอ

มิติด้านประสิทธิภาพ มีแนวทางการดำเนินงานติดตาม มิติด้านประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และการพัฒนาโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพชุมชน โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ การสนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศ ติดตามประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มิติด้านความปลอดภัย มีแนวทางการติดตามการดำเนินงาน คือ ด้านความปลอดภัย และมีการขับเคลื่อนระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา คือ มีการกำหนดจุดเน้นด้านความปลอดภัยและมีมาตรการความปลอดภัย มีการจัดให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา มีการสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรในพื้นที่ให้เห็นความสำคัญด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ กำหนดมาตรการกำกับติดตามสถานศึกษาในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดระบบดูแลความปลอดภัยของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ

ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสองโครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินงานตามนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านโอกาส (Opportunity) มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ (1) การเข้าถึงเท่าเทียมและเสมอภาค (2) การใช้ระบบสารสนเทศพัฒนาการศึกษา (3) การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) การขับเคลื่อนการศึกษาเพื่ออาชีพ (5) การเพิ่มช่องทางในการเลือกศึกษาด้านคุณภาพ (Quality) มี 7 องค์ประกอบย่อย คือ (1) ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย (2) นวัตกรรมการบริหารจัดการ (3) ระบบการคัดเลือกบุคลากร (4) หลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการ (5) การเสริมทักษะการเรียนรู้ (6) ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (7) เครือข่ายมีส่วนร่วม ส่งเสริม สนับสนุน ด้านประสิทธิภาพ (Performance) มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ (1) การใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน (2) การกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค (3) การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน (4) ความรับผิดชอบการศึกษาในทุกระดับ (5) การสร้างกลไกในการตรวจสอบ ด้านความปลอดภัย (Safety) มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ (1) ความตระหนักความปลอดภัย (2) ทักษะด้านการป้องกันตัวเอง (3) การสร้างกลไกตามหลักธรรมาภิบาล (4) การป้องกันผู้เรียนจากการถูกคุกคาม (5) ภาคีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ

รูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ มีส่วนประกอบของรูปแบบ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบติดตามประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ หลักการของรูปแบบติดตามประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบติดตามประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ และกระบวนการติดตามประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ และส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ

ความคิดเห็นประเด็นความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความมีประโยชน์ของการใช้รูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ โดยภาพรวมทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก

ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นของรูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ มีความเหมาะสมดี และดีมากในบางขั้นตอนซึ่งช่วยลดขั้นตอนการทำงานของผู้ปฏิบัติ เป็นรูปแบบการติดตามที่ดีในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถนำข้อคำถามมาพัฒนาการปฏิบัติงานได้

ความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่าระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ประเด็น และอยู่ในระดับมาก 8 ประเด็น โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ สามารถนำแนวทางการพัฒนารูปแบบมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาได้มากขึ้น รูปแบบช่วยให้การติดตามและการประเมินเป็นระบบและสัมพันธ์กัน ประโยชน์ของรูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ช่วยให้เห็นคุณค่าในการนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาด้านการติดตามและประเมินได้มากขึ้น และรูปแบบช่วยสร้างแรงจูงใจ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

`

การพัฒนารูปแบบติดตามและประเมินการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพThe new and efficient monitoring and evaluation model development for policy implementation of the Office of the Basic Education Commission is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.