การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
The Development of Policy Recommendation for Monitoring of Basic Education Administration of Office of the Basic Education Commission
: ชื่อผู้วิจัย ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์
: ตำแหน่ง -
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2564
: 3179
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ได้แนวทางและข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อ
การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาต่อไป มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Study) ศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Study) จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 183 เขต เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ (In - depth Interview of Experts) เกี่ยวกับแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการคัดเลือกกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อให้ทราบกรอบแนวคิดการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินเชิงวิพากษ์ จำนวน 9 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Miles และ Heberman (1984) และบรรณาธิการข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 รายการ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กรอบแนวคิด 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการดำเนินการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ระยะที่ 3 ประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการสอบถามความคิดเห็นการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) แบ่งตามสังกัดผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 119 คน และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 31 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 150 คน ปรับปรุงและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของ Miles และ Heberman (1984) และเรียบเรียงและนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นฉบับสมบูรณ์
ผลการศึกษาปรากฏผล ดังนี้ 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ 1.1) สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเรียงลำดับสภาพปัจจุบันการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ การบริหารงานด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารงานด้านการบริหารทั่วไป การบริหารงานด้านงบประมาณ และการบริหารงานด้านวิชาการ ตามลำดับ 1.2) ปัญหาการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อเรียงลำดับปัญหาการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ การบริหารงานด้านวิชาการ การบริหารงาน ด้านงบประมาณ การบริหารงานด้านการบริหารทั่วไป และการบริหารงานด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ 1.3) แนวทางการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการติดตามองค์ประกอบภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ การบริหารงานด้านวิชาการ การบริหารงานด้านงบประมาณ การบริหารงานด้าน
การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานด้านการบริหารทั่วไป 2) ผลการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการดำเนินการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ข้อสรุปข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการดำเนินการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 2.1) หลักการ
2.2) วัตถุประสงค์ 2.3) กรอบแนวคิด 2.4) ข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการดำเนินการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2.5) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย 3) ผลการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
3.1) ผลการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 4 ด้าน ในเรื่องความมีประโยชน์ ความถูกต้อง และความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้อง มีผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การบริหารงานด้านวิชาการ และในเรื่องความมีประโยชน์ ความถูกต้อง และความเหมาะสม มีผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการบริหารงานด้าน
การบริหารทั่วไป 3.2) ผลการจัดทำบรรณาธิการข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการดำเนินการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสมบูรณ์ ดังนี้ 1) การบริหารงานด้านวิชาการ มี 9 ข้อ 2) การบริหารงานด้านงบประมาณ มี 7 ข้อ 3) การบริหารงานด้านการบริหารงานบุคคล มี 7 ข้อ และ 4) การบริหารงานด้านการบริหารทั่วไป มี 7 ข้อ
นอกจากนี้ผู้ศึกษายังค้นพบข้อเสนอแนะการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ คือ 1.1) ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาสถานศึกษา 1.2) จัดทำคู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษา และคู่มือการกำกับติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.3) ควรมีการระดมทรัพยากรมาจัดการศึกษาในรูปแบบภาคี
อย่างมีส่วนร่วม 1.4) ประเมินสถานศึกษาที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จ ให้รางวัลและเป็นต้นแบบ 1.5) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จทุกด้าน 2) ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งต่อไป คือ 2.1) อาจปรับรายการข้อเสนอเชิงนโยบายบางข้อ เพื่อให้เข้ากับบริบท และปรับเปลี่ยนแนวทางให้มีประสิทธิภาพที่มากขึ้นกว่าเดิม 2.2) ควรมีการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อให้เข้ากับบริบทและปัจจัยในการบริหารจัดการการศึกษาที่แตกต่างกัน
การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานThe Development of Policy Recommendation for Monitoring of Basic Education Administration of Office of the Basic Education Commission is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.