การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT)
A Study of the Relationship Between School Size and Student Quality Assessment Results (National Test: NT)

: ชื่อผู้วิจัย ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์
: ตำแหน่ง -
: วัดประเมินผลการศึกษา
: ปี 2563
: 1765

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษา เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสถานศึกษา 5 ขนาด ประกอบด้วย ขนาดเล็กพิเศษ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ กับ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT) วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 และเพื่อศึกษาน้ำหนักคาโนนิคอลของขนาดสถานศึกษาแต่ละขนาดที่มีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนแต่ละวิชา ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT) ในระดับประเทศของของสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันโดยใช้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ โดยจำแนกเป็น 5 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กพิเศษ (มีจำนวนนักเรียน 1 - 60 คน) ขนาดเล็ก (มีจำนวนนักเรียน 61 - 120 คน) ขนาดกลาง (มีจำนวนนักเรียน 121 - 300 คน) ขนาดใหญ่ (มีจำนวนนักเรียน 301 - 500 คน) และขนาดใหญ่พิเศษ (มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 501 คนขึ้นไป ตัวแปรต้น คือ ขนาดของสถานศึกษา ได้แก่ ขนาดเล็กพิเศษ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ ตัวแปรตาม คือ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน(National Test: NT) ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562

ผลการศึกษาปรากฏผล ดังนี้ จำนวนสถานศึกษาที่นำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์รวม 380 สถานศึกษา จำนวนนักเรียน 8,683 คน จำแนกเป็นสถานศึกษาขนาดเล็กพิเศษนักเรียน 337 คน ฐานนิยมเท่ากับ 4 พิสัย เท่ากับ 10 สถานศึกษาขนาดเล็กนักเรียน 662 คน ฐานนิยมเท่ากับ 8 พิสัยเท่ากับ 17 สถานศึกษาขนาดกลางนักเรียน 1,927 คน ฐานนิยมเท่ากับ 28 พิสัยเท่ากับ 20 สถานศึกษาขนาดใหญ่นักเรียน 2,072 คน ฐานนิยมเท่ากับ 25 พิสัยเท่ากับ 25 สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษนักเรียน 3,685 คน ฐานนิยม เท่ากับ 49 พิสัยเท่ากับ 151 ตามลำดับ

ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT) กลุ่มสถานศึกษาตัวอย่าง วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 คะแนนต่ำสุด 26.38 คะแนนสูงสุด 54.83 คะแนนเฉลี่ย 43.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.19 และวิชาคณิตศาสตร์ คะแนนต่ำสุด 26.00 คะแนนสูงสุด 64.35 คะแนนเฉลี่ย 43.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.40

ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT) กลุ่มสถานศึกษาตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 วิชาภาษาไทย (Y1) และวิชาคณิตศาสตร์ (Y2) มีความสัมพันธ์กันระดับสูง (r= 0.793) สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีความสัมพันธ์กับผลการประเมินคุณภาพวิชาคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง (r=0.312) ส่วนตัวแปรอื่นมีความสัมพันธ์กันระดับต่ำ

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรขนาดสถานศึกษา และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT) กลุ่มสถานศึกษาตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 มีฟังชันคาโนนิคอล 1 ฟังก์ชัน ฟังก์ชันที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยฟังก์ชั่นที่ 1 มีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Rc) เท่ากับ 0.461 และมีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล กำลังสอง (Rc2) เท่ากับ 0.212 แสดงว่ามีความแปรปรวนร่วมกันระหว่างตัวแปรคาโนนิคอลทำนาย (Predictor Composite) กับตัวแปรคาโนนิคอลเกณฑ์ (Criterion Composite) อยู่ร้อยละ 21.20 ค่าไอเก็น Eigenvalues เท่ากับ 0.27 แสดงว่าค่าผันแปรตัวแปรเดิม สามารถอธิบายได้ด้วยตัวแปร คาโนนิคอล ร้อยละ 27.00

สัมประสิทธิ์โครงสร้างพบว่า ค่าน้ำหนักคาโนนิคอลของชุดตัวแปรขนาดสถานศึกษาที่มีค่าน้ำหนักสูงที่สุดคือ สถานศึกษาขนาดใหญ่ (0.642) รองลงมาคือ สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ (-0.493) สถานศึกษาขนาดกลาง (0.435) สถานศึกษาขนาดเล็ก (0.386) และสถานศึกษาขนาดเล็กพิเศษ (0.259) และค่านำหนักชุดตัวแปรผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT) ที่มีค่าน้ำหนักสูงที่สุด คือ ผลการประเมินคุณภาพวิชาคณิตศาสตร์ (-0.805) รองลงมาคือ ผลการประเมินคุณภาพวิชาภาษาไทย (-0.276)

`

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test: NT)A Study of the Relationship Between School Size and Student Quality Assessment Results (National Test: NT) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.