การปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากร ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง
: ชื่อผู้วิจัย สาร สังข์ทองวิเศษ
: ตำแหน่ง Position
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2548
: 207
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากร เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้าน การปฏิรูปครูและบุคลากร จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และศึกษาปัญหารวมทั้งแนวทาง การแก้ปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากร ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ชนิดกำหนดคำตอบเป็น 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows version 10.0 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากร ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอ่างทอง อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยทั้ง 7 ด้าน คือ การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบของครูและบุคลากร ให้ครูเลือกแผนการสอนหรือพัฒนา ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ประเมินความก้าวหน้าของครูและบุคลากรโดยมุ่งเน้นการวัดประสิทธิภาพของผลการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะคุณภาพการเรียนของผู้เรียน ครูและบุคลากรทุกคนได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะ กำหนดคุณสมบัติและเปิดโอกาสให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งผู้เกษียณอายุราชการมาสอนในสถานศึกษา โดยมีค่าตอบแทนให้ตามความเหมาะสม ให้ครูและบุคลากรที่สังกัดสถานศึกษาต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการสามารถสอนในสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดได้มากกว่าหนึ่งแห่งและลำดับสุดท้าย คือ ปฏิรูประบบราชการและประโยชน์เกื้อกูลของครูและบุคลากร 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากรในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความแตกต่างกัน โดยผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลางและผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 3. ปัญหาที่พบมากที่สุดและแนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากร ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในแต่ละด้านที่มีความถี่สูงมี 4 ด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ ปัญหาการกำหนดคุณสมบัติและเปิดโอกาสให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูชาวบ้านมาสอน ในสถานศึกษาโดยให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม คือ การเบิกจ่ายค่าตอบแทนทำได้ยาก แก้ไขโดย แก้ระเบียบการเงินการงบประมาณ ส่วนปัญหาด้านการปฏิรูประบบสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของครู คือ ขาดงบประมาณสนับสนุน แก้ไขโดยจัดงบประมาณเพิ่มและขอการสนับสนุนจากเอกชนหรือหน่วยงานราชการ ปัญหาด้านครูและบุคลากรทุกคนได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะ คือ งบประมาณที่ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้มีไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข คือ จัดงบประมาณสนับสนุน ให้เพียงพอ และปัญหาด้านการสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบของครูและบุคลากร คือ ครูยึดติดกับรูปแบบการสอนแบบเก่า ควรแก้ไขโดยจัดอบรมกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดี
การปฏิบัติตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากร ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.