FACTORS AFFECTING ORGANIZATION COMMITMENT AS PERCEIVED BY THE PRIMARY SCHOOL TEACHERS WORKING UNDER THE OFFICE OF SUPHANBURI PROV
ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

: ชื่อผู้วิจัย สัมฤทธิ์ ผิวบัวคำ
: ตำแหน่ง Position
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2548
: 175

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ประสบการณ์ในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 60 คน และครูผู้สอนจำนวน 360 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าไคสแควร์ (chi-square test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) โดยใช้โปรแกรม SPSS / for Windows Version 10.0

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน

การประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน

ในโรงเรียนปัจจุบัน สถานภาพการสมรส และตำแหน่งปัจจุบัน เป็นปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

3. ปัจจัยทางด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย ความมีอิสระในการทำงาน ความประจักษ์ในงาน การรับทราบผลย้อนกลับของงาน งานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โอกาสของความก้าวหน้าในการทำงาน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ

ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

4. ปัจจัยทางด้านประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย ความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์การ ความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่อองค์การ และ ความรู้สึกว่าองค์การพึ่งพิงได้ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติและปัจจัยประสบการณ์ในการทำงานมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ส่วนปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ



The purposes of this study were to investigate the level of organizational commitment of the primary school teachers working under the office of Suphanburi Provincial Primary Education, and to study the relationships of personal characteristics, job characteristics, work experience characteristics, and organizational commitment of such teachers.

Samples in the study consisted of 60 school administrators and 360 teachers from

primary schools. They were selected by simple random sampling. Questionnaires were used for collecting data. Statistics used for analysis of the data were percentage, mean, standard deviation, chi-square and Pearson Product Moment Correlation and SPSS/for Windows Version 10.0.

The results of the study revealed that:

1. The level of organizational commitment of the primary school teachers was at a high level.

2. The personal characteristics which consisted of sex, education, tenure in school, marital status, and the present position were not at a significant level of 0.05.





3. The job characteristics which consisted of autonomy, task identity, feedback, social interactions and opportunity for advancement were at a significant level of 0.01.

4. The work experience characteristics which consisted of met expectation, personal importance, organization dependability were at a significant level of 0.01.

In conclusion, the job characteristics and the work experience characteristics were factors affecting organization commitment. The personal characteristics factors did not affect organizational commitment.

`

FACTORS AFFECTING ORGANIZATION COMMITMENT AS PERCEIVED BY THE PRIMARY SCHOOL TEACHERS WORKING UNDER THE OFFICE OF SUPHANBURI PROVปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.