การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
PARTICIPATION IN SCHOOL MANAGEMENT OF THE BASIC EDUCATION SCHOOL COMMITTEE UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI

: ชื่อผู้วิจัย สวิด ดวงจันทร์
: ตำแหน่ง Position
: อื่นๆ
: ปี 2548
: 255

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2543 3. เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543 4. เพื่อสังเคราะห์และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 364 คน จากผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มละ 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ของคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนหนึ่งฉบับ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนโดยภาพรวม ร้อยละ 75.82 ไม่มีส่วนร่วมร้อยละ 24.18 เมื่อพิจารณาตามกระบวนการบริหารพบว่า มีส่วนร่วมด้านการประสานงานมากที่สุด ในขณะที่ไม่มีส่วนร่วมด้านการกระตุ้นการทำงานมากที่สุด 2. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่แต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ การให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา การให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพได้มาตรฐาน การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจนประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น และการปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษานั้นๆ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม 3.1 ควรจัดให้มีระบบการพัฒนาความรู้ความสามารถและสร้างความเข้าใจใน บท บาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาทุกชุดที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสถานศึกษา 3.2 สถานศึกษาควรจัดระบบและเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมกับสถานศึกษาได้อย่างแท้จริง โดยสถานศึกษาควรดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ 3.2.1 สถานศึกษาควรจัดให้มีการประชุมกรรมการสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เช่นประชุมภาคเรียนละ 2 ครั้ง คือ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 ครั้งและ ก่อนปิดภาคเรียน 1 ครั้ง 3.2.2 ควรเสนอรายงานผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และเสนอเรื่องราวต่างๆ ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างแท้จริง ทุกครั้งที่มีการประชุม 3.2.3 ควรกำหนดปฏิทินการประชุมไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน และแจ้งวาระการประชุมพร้อมรายละเอียดให้คณะกรรมการศึกษาล่วงหน้าก่อนการประชุม 3.2.4 ควรกำหนดเวลาในการประชุมให้เอื้อต่อกรรมการทุกฝ่าย เพื่อให้สามารถเข้าร่วมประชุมได้ทุกคน เช่น จัดประชุมในวันหยุด หรือนอกเวลาราชการเป็นต้น 3.3 สถานศึกษาควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกรรมการสถานศึกษาและชุมชน 3.4 ทางราชการควรกำหนดระเบียบเรื่องการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้มีระยะเวลาในการทำงานในสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง 3.5 สถานศึกษาควรดำเนินการเพื่อให้ได้กรรมการสถานศึกษาที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาเป็นกรรมการ

`

การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีPARTICIPATION IN SCHOOL MANAGEMENT OF THE BASIC EDUCATION SCHOOL COMMITTEE UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.