การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามการรับรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี
THE SCHOOL AND COMMUNITY RELATION AS PERCEIVED BY THE BASIC EDUCATION COMMITTEE OF PRIMARY SCHOOLS UNDE
: ชื่อผู้วิจัย จำเริญ สีสม
: ตำแหน่ง Position
: อื่นๆ
: ปี 2548
: 377
บทคัดย่อ (Abstract)
ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เปรียบเทียบการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามการรับรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามการรับรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งข้อคำถามเป็นแบบสำรวจรายการ (check list) และแบบคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และทดสอบความแตกต่างด้วยค่ามัธยฐาน (median test) และ ค่าไคสแคว์ (chi–square / - test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามการรับรู้ของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 6 ด้าน มีดังนี้ ด้านการให้บริการแก่ชุมชน โรงเรียนให้บริการมากที่สุดคือ ให้ชุมชนใช้อาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโรงเรียน ให้บริการน้อยที่สุดเรื่องการฝึกอบรมทางวิชาชีพแก่ประชาชนในชุมชน ด้านการรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากประชาชนในชุมชนมากที่สุด และได้รับการช่วยเหลือจากที่ว่าการอำเภอน้อยที่สุด ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ นั้น กิจกรรมของโรงเรียนที่มีประชาชนมาร่วมงานมากที่สุดคือการจัดงานวันเด็ก แต่การจัดกิจกรรมตอบปัญหาทางวิชาการมีประชาชนมาร่วมงานน้อยที่สุด ส่วนงานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ ฯ ปีละ 2-4 ครั้งมากที่สุด ส่วนการจัดประชุมปีละ 8-10 ครั้ง โรงเรียนดำเนินการน้อยที่สุด และงานการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม หรือมูลนิธิ มีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจก่อนการปฏิบัติงานมากที่สุด แต่มอบหมายให้ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนรับผิดชอบดำเนินการน้อยที่สุด และด้านสุดท้ายคือ ด้านการประชาสัมพันธ์ โรงเรียนจัดประชุมผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงนโยบาย การรายงานความก้าวหน้าของโรงเรียนมากที่สุด แต่ใช้สื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์น้อยที่สุด 2. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนตามการรับรู้ของคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รวม 5 ด้าน ส่วนด้านการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม หรือมูลนิธิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. ปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่พบมากที่สุดในแต่ละด้าน และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีดังนี้ 3.1 ด้านการดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนขาดแคลน งบประมาณในการดำเนินงาน ควรหางบประมาณสนับสนุนจากแหล่งต่าง ๆ 3.2 ด้านการให้บริการแก่ชุมชน โรงเรียนขาดอุปกรณ์เครื่องใช้ในการให้บริการแก่ชุมชน ควรจัดระดมทรัพยากรจากท้องถิ่น 3.3 ด้านการขอรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน ชุมชนมีฐานะทางเศรษฐกิจยากจน ควรขอความช่วยเหลือด้านอื่นที่ไม่กระทบเศรษฐกิจของชุมชน 3.4 ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ ชุมชนและ หน่วยงานคิดว่าการดำเนินงานภายในโรงเรียนเป็นเรื่องของทางราชการเท่านั้น ควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 3.5 ด้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการ ฯ มีงานประจำไม่มีเวลาให้กับโรงเรียน ควรจัดประชุมนอกเวลาทำงาน สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญและเสียสละ 3.6 ด้านการจัดตั้งกลุ่มชมรม สมาคม มูลนิธิ ในชุมชนไม่มีการจัดตั้ง ควรส่งเสริม ให้มีการจัดตั้ง และชี้แจงให้เห็นความสำคัญและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น 3.7 ด้านการประชาสัมพันธ์โรงเรียน การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นการสื่อสารทางเดียวไม่มีข้อมูลย้อนกลับ ควรปรับปรุงการติดต่อสื่อสารให้เป็นระบบสะท้อนกลับหรือแบบสองทาง 3.8 ด้านการประเมินการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โรงเรียนไม่มีผู้รับผิดชอบการ ประเมินโดยตรง ควรมอบหมายและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการประเมินโดยเฉพาะ
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามการรับรู้ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีTHE SCHOOL AND COMMUNITY RELATION AS PERCEIVED BY THE BASIC EDUCATION COMMITTEE OF PRIMARY SCHOOLS UNDE is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.