ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหาร และครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี
RESULTS OF EDUCATIONAL SUPERVISORS' DUTY PERFORMANCE VIEWED BY ADMINISTRATORS AND ACADEMIC AFFAIR TEACHERS IN BASIC

: ชื่อผู้วิจัย ปริญญา มังกโรทัย
: ตำแหน่ง Position
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2548
: 172

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหารและครูวิชาการ รวมทั้งศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของ ผู้บริหารและครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวน 284 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 142 คน และครูวิชาการ จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน คือ ด้านการพัฒนางานวิชาการ ด้านการวิจัย ประเมินผลและบริการ และด้านการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

2. เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากาญจนบุรี ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ ทั้งในภาพรวมเป็นรายด้านและรายข้อ ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

3. ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ จำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้

3.1 ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนางานวิชาการของศึกษานิเทศก์ ที่พบมากที่สุด คือ จำนวนศึกษานิเทศก์มีน้อยไม่เพียงพอกับปริมาณงาน มีแนวทางแก้ปัญหา คือ เพิ่มจำนวนศึกษานิเทศก์ ให้เพียงพอกับปริมาณงาน สร้างเครือข่ายการนิเทศ และพัฒนาให้สถานศึกษามีระบบนิเทศภายใน

3.2 ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ ที่พบมากที่สุด คือ ช่วงเวลาที่ศึกษานิเทศก์ปฏิบัติงานในสถานศึกษาน้อยเกินไป มีแนวทางแก้ปัญหา คือ ศึกษานิเทศก์ควรปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้มากขึ้น ควรนิเทศเป็นทีม เพื่อให้ได้หลายงานในเวลาเดียวกัน และสร้างเครือข่ายการนิเทศ

3.3. ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการวิจัย ประเมินผลและบริการของศึกษานิเทศก์ ที่พบมากที่สุดคือ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ยังมีน้อย มีแนวทางแก้ปัญหา คือ ควรจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้มากขึ้น พัฒนาครูเพื่อเป็นเครือข่ายทางวิชาการ และจัดทำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า

`

ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหาร และครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีRESULTS OF EDUCATIONAL SUPERVISORS' DUTY PERFORMANCE VIEWED BY ADMINISTRATORS AND ACADEMIC AFFAIR TEACHERS IN BASIC is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.