การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
THE PARTICIPATION OF TEACHERS IN QUALITY ASSURANCE IN THE BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI

: ชื่อผู้วิจัย ประสาร แบงเพชร
: ตำแหน่ง Position
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2548
: 307

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกัน

คุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกตามระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 และช่วงชั้นที่ 3 - 4 และศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนซึ่งทำหน้าที่ครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ชนิด 3 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับการมีส่วนร่วมของครู ในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานในภาพรวมทั้ง 6 ขั้นตอนอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ขั้นการดำเนินงานตามแผน ขั้นการวางแผน ขั้นการเตรียมการ ขั้นการจัดทำรายงานประจำปี

ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล และขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน

2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของครู ในการดำเนินการประกันคุณภาพ

ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับช่วงชั้นที่ 1- 2 และช่วงชั้นที่ 3- 4 ไม่แตกต่างกัน



3. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการ

ประกันคุณภาพภายในที่พบมากที่สุดในแต่ละขั้นเรียงตามลำดับความถี่ 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหา

ในขั้นการจัดทำรายงานประจำปี คือ ขาดข้อมูลสารสนเทศในการจัดทำรายงานประจำปี แก้ไขโดยการจัดให้มีการรวบรวมผลการประเมินคุณภาพการศึกษา รองลงมาเป็นปัญหาในขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน คือ มักเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและครูวิชาการเท่านั้น แก้ไขโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน และปัญหาอันดับที่ 3 เป็นปัญหาในขั้นการวางแผน คือ ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แก้ไขโดยคณะครูร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษา

`

การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีTHE PARTICIPATION OF TEACHERS IN QUALITY ASSURANCE IN THE BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.