การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวมในโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
The Development of Supervision Model for Inclusive Education in Chiang Rai Primary Educational Service Area 1

: ชื่อผู้วิจัย นาง พิมพา ตามี่
: ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
: การศึกษาพิเศษ
: ปี 2562
: 842

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวมของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม3) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวมและ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความต้องการการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนรวม จำนวน 80 โรงเรียน 240 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สอบถามความคิดเห็นและการสนทนากลุ่ม 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม โดยยกร่างและประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน 3) ประเมินรูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม โดยสนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 60 คน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม โดยประชุมกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ต้องการการนิเทศเพื่อช่วยให้ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนและการช่วยเหลือนักเรียนมากที่สุด ด้านเนื้อหาการนิเทศ คือ เทคนิคการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องในชั้นเรียนรวมและการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเรียนรวม ด้านกระบวนการนิเทศ ต้องการการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติให้เกิดทักษะและความชำนาญ การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในการปฏิบัติงานและการมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บ่อยครั้ง ด้านผู้นิเทศต้องการการนิเทศจากศึกษานิเทศก์หรือนักวิชาการผู้มีความรู้ด้านการศึกษาพิเศษและครูแกนนำที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ด้านระยะเวลาการนิเทศ ต้องการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเขตพื้นที่การศึกษา ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ภายในกลุ่มเครือข่าย เดือนละ 1 ครั้งและระดับสถานศึกษา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตามลำดับ

2. รูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม ประกอบด้วย 3 ประเด็น 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) วัตถุประสงค์การนิเทศ 2) เนื้อหาการนิเทศ และ3) กระบวนการนิเทศ (1) การจัดโครงสร้างเครือข่าย (2) การให้คำปรึกษา (3) การช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ (4) การสะท้อนคิดผลการพัฒนาและ(5) การสร้างความไว้วางใจ

3. รูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวม มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์และเป็นไปได้ ในระดับมาก ทุกด้าน

4. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ ในระดับมาก

`

การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการศึกษาเรียนรวมในโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1The Development of Supervision Model for Inclusive Education in Chiang Rai Primary Educational Service Area 1 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.