รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ
Cooperative School Development Model to develop into School Health.

: ชื่อผู้วิจัย ดร.กัมพล เจริญรักษ์
: ตำแหน่ง -
: อื่นๆ
: ปี 2562
: 292

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม 2) ปฏิบัติการและศึกษาผลปฏิบัติการใช้รูปแบบตามวงจรของเคมมิสและแม็คทักการ์ท 3) ประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการใช้รูปแบบการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ระยะที่ 2 การนำรูปแบบไปใช้ตามวงจรปฏิบัติการของเคมมิสและแม็คทักการ์ท 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกตผล และการสะท้อนผล ปฏิบัติการ 2 วงจร คือ วงจรที่ 1 ปีการศึกษา 2559-2560 และวงจรที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ระยะที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบ และระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการใช้รูปแบบ สรุปผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ ประกอบด้วย

การพัฒนา 4 มิติ คือ 1) มิติการพัฒนาศักยภาพครู 2) มิติการสร้างศรัทธา 3) มิติการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ 4) มิติความเป็นหุ้นส่วน

2. ผลการดำเนินการตามมิติการพัฒนาของรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียน สุขภาวะ จำนวน 14 โครงการ พบว่าการดำเนินโครงการวงจรที่ 1 ทั้ง 14 โครงการ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ ทุกโครงการและวงจรที่ 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าวงจรที่ 1 ทุกโครงการ

3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะใน 4 ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ มีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านที่เพิ่มขึ้นทุกด้าน และผลการเปรียบเทียบการประเมินการดำเนินงานของโรงเรียนสุขภาวะ ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานของโรงเรียนสุขภาวะด้านนักเรียนมีสุขภาวะ พบว่าปีการศึกษา 2561 นักเรียนมีสุขภาวะเพิ่มขึ้นกว่าปีการศึกษา 2560 ทุกตัวบ่งชี้ 2) ผลการดำเนินงานของโรงเรียนสุขภาวะ 4 ด้าน พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของตัวบ่งชี้การดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะในปีการศึกษา 2561 สูงกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะในปีการศึกษา 2560

4. ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและกรรมการที่ปรึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาโรงเรียน แบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก

`

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะCooperative School Development Model to develop into School Health. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.