การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศูนย์การเรียนรายวิชา การผลิตพืชผักของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง
Development of a learning management model using the vegetable production course for students Vocational Certificate Level, College of Agriculture and Technology in the Central Region Under the Central Institute of Agricultural Vocational Education.

: ชื่อผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรีฐิติพงศ์ ปัญญาคำ
: ตำแหน่ง -
: อาชีวศึกษา
: ปี 2561
: 359

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศูนย์การเรียนรายวิชาการผลิตพืชผัก ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะทางการเรียนรายวิชาการผลิตพืชผักของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง สุ่มตัวอย่างวิทยาลัยโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 4 แห่ง ด้วยวิธีการจับฉลาก ได้แก่ 1) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี 2) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท 3) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี 4) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว จากนั้นสุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับ ปวช. ที่เรียนรายวิชาการผลิตพืชผัก ในวิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยี แต่ละแห่งโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ศูนย์การเรียนรายวิชาการผลิตพืชผักของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรายวิชาการผลิตพืชผัก 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผลิตพืชผัก 4) แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะปฏิบัติงานการจัดการพืชผัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผลิตพืชผัก ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t – test for Dependent Sample) และเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติงานการปลูกพืชผัก รายวิชาการผลิตพืชผักกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (t – test for One Sample)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์การเรียนรายวิชาการผลิตพืชผักของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 ศูนย์การเรียน ประกอบด้วย ศูนย์ที่ 1 เรื่อง การตลาดและมาตรฐานการผลิตพืชผัก ศูนย์ที่ 2 เรื่อง การจำแนกประเภทของพืชผัก ศูนย์ที่ 3 เรื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชผัก ศูนย์ที่ 4 เรื่อง การวางแผนการผลิตพืชผัก ศูนย์ที่ 5 เรื่อง การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ศูนย์ที่ 6 ศูนย์สำรอง

ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยศูนย์ การเรียนรายวิชาการผลิตพืชผักของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลางที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทุกวิทยาลัยมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีทักษะการปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

`

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศูนย์การเรียนรายวิชา การผลิตพืชผักของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในเขตภาคกลาง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลางDevelopment of a learning management model using the vegetable production course for students Vocational Certificate Level, College of Agriculture and Technology in the Central Region Under the Central Institute of Agricultural Vocational Education. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.