การประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบในการพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
An Application of Design - Based Research for Development of Cognitive Coaching Process Cooperating with Metacognitive Strategies for Enhancing Research Competences of Teachers in Demonstration Schools under Srinakharinwirot university
: ชื่อผู้วิจัย ดร.ทิชากรช์ อาทิตวรากูล
: ตำแหน่ง -
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2562
: 235
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาที่มีกระบวนการเสริมสมรรถนะการวิจัยที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัย และ
3) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัยในด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ โดยมีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาที่มีกระบวนการเสริมสมรรถนะการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนาต้นแบบกระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัย และระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะ
การวิจัย ดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยอิงการออกแบบ มีระยะเวลาทดลองใช้กระบวนการ 20 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วมวิจัยคือ อาจารย์โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 22 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การเสริมสมรรถนะการวิจัย ได้แก่ การเสริมพลัง การให้กำลังใจ การใช้ความจริงใจ ผู้บริหาร พี่เลี้ยงและอาจารย์ปฏิบัติต่อกันบนฐานของความเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพในหลักที่ว่าทุกคนมีศักยภาพเท่าเทียมกัน 2) กระบวนการที่พัฒนาขึ้นมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม เป็นการสร้างความไว้วางใจ กำหนดแผนการชี้แนะ และให้สาระแก่นวิจัย ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการชี้แนะ มี 4 ขั้นตอนย่อย )2.1) ผสานความรู้ )2.2) ตกผลึกความคิดสู่การปฏิบัติ (2.3) ชี้แนะเพื่อสร้างการเรียนรู้ )2.4) สะท้อนผลการเรียนรู้ และขั้นที่ 3 ทบทวนไตร่ตรองเป็นการสะท้อนงานบุคคลและสะท้อนกระบวนการ และผู้รับการชี้แนะใช้กลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ดังนี้ (1) การวางแผนการคิด (2) การควบคุมความคิด )3) การประเมินการคิด และ 3) ผู้เข้าร่วมกระบวนการ มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการวิจัยด้านความรู้และด้านเจตคติระหว่างก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรง และคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะหลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบในการพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒAn Application of Design - Based Research for Development of Cognitive Coaching Process Cooperating with Metacognitive Strategies for Enhancing Research Competences of Teachers in Demonstration Schools under Srinakharinwirot university is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.