ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้แนวคิดเรื่องการสังเคราะห์ ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์ราชส์
The Effect of Model-based Inquiry on Learning Progression for High School Students’ Conception about Photosynthesis: Rasch Analysis
: ชื่อผู้วิจัย นางสาวพุฒธิดา รัมมะฉัตร
: ตำแหน่ง -
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2563
: 345
บทคัดย่อ (Abstract)
วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบความตรงของแผนที่โครงสร้างแนวคิด เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง 2) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้แนวคิดเรื่อง
การสังเคราะห์ด้วยแสง 3) ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่จะช่วยพัฒนาความก้าวหน้าในการเรียนรู้แนวคิด เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยงานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากนักเรียนจำนวน 115 คน และ
ยึดกรอบการประเมินของ BEAR ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสร้างแผนที่โครงสร้าง 2) การออกแบบข้อคำถาม
3) การระบุลักษณะการตอบสนองต่อข้อคำถาม และ 4) การทดสอบโมเดลการวัด โดยผู้วิจัยได้จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ซึ่งผลการศึกษาพบว่าแผนที่โครงสร้างที่ทดสอบแล้วมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
โดยพบว่า แนวคิดหลักที่ยาก ได้แก่ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การเพิ่มความเข้มข้นของ CO2 ของพืช C4 และพืช CAM และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อตรึงค่าความยากของแบบทดสอบให้คงที่แล้ว พบว่าค่าความสามารถของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ (
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้แนวคิดเรื่องการสังเคราะห์ ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์ราชส์The Effect of Model-based Inquiry on Learning Progression for High School Students’ Conception about Photosynthesis: Rasch Analysis is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.