การพัฒนาโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
THE ZERO WASTE SCHOOL DEVELOPMENT BY PARTICIPATION PROCESSES
: ชื่อผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรี ณัฐพงศ์ อิ่มใจ
: ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2564
: 948
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมและ2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมษา ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมี 4 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนากิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะผู้บริหารจำนวน 5 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 9 คน หัวหน้าบุคลากรจำนวน 1 คน คณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่ายจำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 15 คน ผู้ประกอบการร้านค้าจำนวน 10 คน หัวหน้างานสิ่งแวดล้อมสำนักงานวัดหนองจอกจำนวน 1 คน ประธานสภานักเรียน จำนวน 1 คน และหัวหน้าคณะสีนักเรียนจำนวน 4 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) การสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม 10 ปีขึ้นไปและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ 3) การดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วม และ4) การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ประชากร คือ คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกจำนวน 2,909 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะผู้บริหารจำนวน 5 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 9 คน หัวหน้าบุคลากรจำนวน 1 คน คณะกรรมการผู้ปกครองเครือข่ายจำนวน 13 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 15 คน ผู้ประกอบการร้านค้าจำนวน 10 คน หัวหน้างานสิ่งแวดล้อมสำนักงานวัดหนองจอกจำนวน 1 คน ประธานสภานักเรียน จำนวน 1 คน และหัวหน้าคณะสีนักเรียน จำนวน 4 คน ใช้การสุ่มโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก จำนวน 348 คน ใช้แนวคิดการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากกสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ( ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2549 :47) ที่ระดับความเชื่อถือได้ 95 % โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวคิดของ Likert ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและค่าความชื่อมั่น
ผลวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมที่ถูกพัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ โดยการดำเนินงานกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมมีขั้นตอนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม 4 ระดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการ การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมด้านการประเมินผล
2. ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาโรงเรียนปลอดขยะในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ("X" ̅=3.82, S=.62) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการ ("X" ̅=3.87, S=.70) ด้านการมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ ("X" ̅=3.86, S=.63) ด้านการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ ("X" ̅=3.82, S=.61) และด้านการมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการ ("X" ̅=3.74, S=.79) ตามลำดับ
การพัฒนาโรงเรียนปลอดขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมTHE ZERO WASTE SCHOOL DEVELOPMENT BY PARTICIPATION PROCESSES is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.