ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
The Readiness of the Development of Graduates in the Private Higher Education Institutions in Thailand to Support the ASEAN Economic Community

: ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุบิน ยุระรัช
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อุดมศึกษา
: ปี 2554
: 1978

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเชิงสำรวจเรื่องนี้ออกแบบโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อสำรวจอาชีพและคุณลักษณะของบัณฑิตที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคาดหวัง (2) เพื่อสำรวจความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยในการพัฒนาบัณฑิตเพื่อรองรับการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (3) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิต และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้ตอบสนองต่อการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่าง คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 55 แห่ง โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และผู้แทนสถานทูตในประเทศกลุ่มอาเซียน เครื่องมือวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ (1) แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) แบบสอบถาม โดยมีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 9 เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1. อาชีพที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคาดหวัง มีจำนวน 16 สาขา ส่วนคุณลักษณะของบัณฑิตที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคาดหวัง มีจำนวน 3 ด้าน 26 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) ด้านพุทธิพิสัย จำนวน 12 คุณลักษณะ (2) ด้านจิตพิสัย จำนวน 8 คุณลักษณะ และ (3) ด้านทักษะพิสัย จำนวน 6 คุณลักษณะ

2. สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยมีความพร้อมร้อยละ 49.48 ในการพัฒนาบัณฑิตเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ (1) ด้านอาชีพ มีความพร้อมร้อยละ 30.91 (2) ด้านคุณลักษณะของบัณฑิต มีความพร้อมร้อยละ 64.34 (ด้านพุทธิพิสัย ร้อยละ 61.82 ด้านจิตพิสัย ร้อยละ 58.86 และด้านทักษะพิสัย ร้อยละ 76.6 7) และ (3) ด้านกิจกรรมการผลิตและพัฒนาคุณภาพบัณฑิต มีความพร้อมร้อยละ 53.20 (ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ร้อยละ 59.40 ด้านหลักสูตร ร้อยละ 54.60 ด้านการเรียนการสอน ร้อยละ 52.60 ด้านอาจารย์และบุคลากร ร้อยละ 51.80 และด้านการแนะแนวอาชีพและการทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียน ร้อยละ 48)

3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตมี 3 ด้าน โดยเรียงตามอันดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ (1) ความต้องการจำเป็นด้านอาชีพ (2) ความต้องการจำเป็นด้านกิจกรรมการผลิตและพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และ (3) ความต้องการจำเป็นด้านคุณลักษณะของบัณฑิต สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่ตอบสนองต่อการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีจำนวน 9 ข้อ

`

ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนThe Readiness of the Development of Graduates in the Private Higher Education Institutions in Thailand to Support the ASEAN Economic Community is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.