รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
: ชื่อผู้วิจัย ผศ.ดร.มณฑิรา นพรัตน์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อาชีวศึกษา
: ปี 2560
: 7241
บทคัดย่อ (Abstract)
ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลสมัยปัจจุบันที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งในส่วนของการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เน้นจัดการเรียนรู้ที่มีการปฏิบัติจริงหรือการศึกษาระบบทวิภาคีโดยเปิดโอกาสและสนับสนุนให้สถานประกอบการเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษามากขึ้น ตั้งแต่การวางแผนผลิต และการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ส่งผลให้ผู้เรียนมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีทักษะฝีมือที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และทำงานได้จริง
ในทันทีที่สำเร็จการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ จึงเห็นควรให้มีการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค เพื่อเสนอแนะบทบาทแนวทางการดำเนินงาน และเครื่องมือกลไกสนับสนุนของภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา และคณะเป็นผู้ดำเนินการ
จากการศึกษาสามารถวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. ระบบทวิภาคีเป็นระบบที่ดี เป็นทางออกของการยกระดับการศึกษาระดับอาชีวศึกษาทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพื่อการประกอบอาชีพมากขึ้นได้จริง
2. ในเชิงหลักการอาจกล่าวได้ว่า “ระบบทวิภาคีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการอาชีวศึกษาโดยธรรมชาติ”
3. ในปัจจุบัน หลักเกณฑ์และมาตรฐานของการจัดการอาชีวศึกษาใช้หลักเกณฑ์กลาง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินการในทางปฏิบัติ
4. ความร่วมมือกับสถานประกอบการนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากต่อระบบทวิภาคี
5. ปัญหาจากผู้ประกอบการ มี
6. งบประมาณที่จัดสรรสำหรับการจัดการการศึกษาระบบทวิภาคีขาดแคลนและไม่เพียงพอ
7. การจัดทำแผนการฝึกอาชีพถือเป็นส่วนสำคัญในระบบทวิภาคี
8. ในบางสาขาวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาที่มีความสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น เช่น สาขาวิชาไฟฟ้า นักเรียนนักศึกษาจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกและควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายและความเสียหายในสถานประกอบการ
9. สถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่ห่างไกลจากสถานประกอบการ
10. การศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับต่างประเทศนั้นมีความน่าสนใจ และสามารถพัฒนาความสามารถนักเรียนนักศึกษาได้ ส่วนกลางควรให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินทุนการศึกษา
11. ความสำเร็จในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีนั้นจะต้องมีความพร้อมในทุกด้าน
12. พฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่มีสิ่งเร้า เช่น ยาเสพติด ชู้สาว ทำให้ไม่สามารถรับผิดชอบงานได้อย่างเต็มที่
13. ทัศนคติของผู้ปกครองที่เชื่อว่านักเรียนนักศึกษาที่เรียนระบบทวิภาคีนั้นเป็นกลุ่มเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน
รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.