การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
DEVELOPING BALANCED SCORECARD FOR SECONDARY SCHOOLS IN THE NORTHEAST
: ชื่อผู้วิจัย ภัททิรา ชำกรม
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2556
: 942
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยกาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ตรวจสอบและศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษา มีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ถึงมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของ ไมล์ และ ฮิวเบอร์ แมน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย จากผู้เชี่ยวชาญ 5 กลุ่ม จำนวน 19 คน ด้วยวิธี การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดจำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของ ไมล์ และ ฮิวเบอร์แมน หาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ระยะที่ 3 ศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพสำหรับ โรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา กาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 166 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งไม่อยู่ในกลุ่มที่เคยให้ข้อมูลวิจัยมาแล้ว ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะสำคัญ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 กระแสโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์ประกอบที่ 2 เงื่อนไขการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 39 มาตรา 40 และมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบที่ 3 วิสัยทัศน์ นโยบาย มาตรการ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นเงื่อนไขในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์ประกอบที่ 4 แนวคิดและหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ (Balanced scorecard: BSC) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์ประกอบที่ 5 แนวทางการบริหารสถานศึกษาเชิงคุลยภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์ประกอบที่ 6 เกณฑ์การประเมินโรงเรียนมัธยมศึกษาตามกรอบคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public sector management quality award: PMQA)
2. การตรวจสอบรูปแบบผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันถึงความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในภาพรวม 4.81
3. การศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในภาพรวม 4.37
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเชิงดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือDEVELOPING BALANCED SCORECARD FOR SECONDARY SCHOOLS IN THE NORTHEAST is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.