การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและกลุ่มปัญญานิยมต่อผลการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGIES BY COMBINING BEHAVIORAL LEARNING THEORY AND COGNITIVE THEORY ON THAI MUSICAL LEARNING OUTCOME OF THAI MUSIC
: ชื่อผู้วิจัย เมตตา พลประถม
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2556
: 1322
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและกลุ่มปัญญานิยมเพื่อส่งเสริมผลการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยการผสานทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและกลุ่มปัญญานิยมต่อผลการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยพิจารณาจาก 2.1) ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนก่อนและหลังการเรียน โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่สร้างขึ้น 2.2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบทักษะดนตรีไทยของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ยุทธศาสตร์ และ 2.3) ผลการศึกษาเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนดนตรีไทยของนักเรียนที่ได้เรียนก่อนและหลังเรียน ปรากฏผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีไทย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 3 กลุ่ม 1) ครูภูมิปัญญาดนตรีไทย 2) ครูที่สอนดนตรีไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 ปีการศึกษา 2555 และ 3) อาจารย์สอนดนตรีไทยในระดับอุดมศึกษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง พบว่าสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอน ไม่ปรากฏขั้นตอนที่ชัดเจนแล้วครูผู้สอน การจัดการการเรียนรู้ควรมีขั้นตอนที่ชัดเจนมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อให้เหมาะกับธรรมชาติของวิชา ควรใช้สื่อการสอนที่เป็นแบบฝึกทักษะและควรมีการจัดสภาพแวดล้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรีไทย
ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีการเรียนรู้ กลุ่มพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมต่อผลการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้กําหนดกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีไทย 2) สังเคราะห์ยุทธศาสตร์ และ 3) ตรวจสอบยุทธศาสตร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้แบบประเมินและแบบตรวจสอบพิจารณาค่าความสอดคล้องของเครื่องมือ พบว่าได้ยุทธศาสตร์หลัก คือ กระบวนการจัดการการเรียนรู้ซึ่งสังเคราะห์ได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กลไกแห่งการรับรู้ ขั้นที่ 2 ดูการสาธิต ขั้นที่ 3 ฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 4 ทบทวนผลงานและขั้นที่ 5 สรุปผลงาน และยุทธศาสตร์รอง คือ แนวทางสนับสนุนกระบวนการจัดการการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) การจัดกลุ่มสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2) การใช้แบบฝึกทักษะดนตรีไทย และ 3) การจัดสภาพแวดล้อม
ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนหัวดงรัฐชนูปถัมภ์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 ได้มาจากการเลือกแบบการสุ่มจํานวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะวิชาดนตรีไทย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยจํานวน 40 ข้อ 4) แบบวัดทักษะดนตรีไทย และ 5) แบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการเรียนดนตรีไทยซึ่งเป็นแบบสอบถามด้วยคําถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 2) นักเรียนมีทักษะดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยการผสานทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและกลุ่มปัญญานิยมต่อผลการเรียนวิชาดนตรีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นTHE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGIES BY COMBINING BEHAVIORAL LEARNING THEORY AND COGNITIVE THEORY ON THAI MUSICAL LEARNING OUTCOME OF THAI MUSIC is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.