รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
A PARTICIPATORY MODEL FOR ACADEMIC ADMINISTRATION OF THE VOCATIONAL EDUCATION INSTITUTE NORTH EASTERN REGION 1

: ชื่อผู้วิจัย ประสิทธิ์ อังกินันทน์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อาชีวศึกษา
: ปี 2556
: 764

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ สร้างและพัฒนารูปแบบ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติของรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ 1 ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 การศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ โดยการสัมภาษณ์รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 20 คน พบว่าแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 16 แนวทาง 2) การมีส่วนร่วมในการจัดทําทะเบียนและวัดผล 15 แนวทาง 3) การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา 16 แนวทาง 4) การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 18 แนวทาง 5) การพัฒนาห้องสมุดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 12 แนวทาง รวมมีแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 77 แนวทาง

ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ โดยการจัดประชุมการสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง ผู้ร่วมสร้างประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา และสถานประกอบการกลุ่มละ 9 คน รวม จำนวน 27 คน พบว่ารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 5 ด้านคือ 1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) การมีส่วนร่วมในการจัดทําทะเบียนและวัดผล 3) การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา 4) การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี 5) การศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบโดยการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ กรรมการสถานศึกษา และสถานประกอบการ รวม 9 คน โดยการนำผลจากขั้นที่ 1 มาให้ผู้ร่วมประชุมพิจารณาปรับปรุงพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการทั้ง 5 ด้านนั้น

ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ครูทำหน้าที่หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างาน กรรมการสถานศึกษาและตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นด้านความเหมาะสม 0.990 ด้านความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถาบันโดยรวม 0.998 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติและการจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ หาค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมตามรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ 5 ด้านด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 5 วิธี มีความเหมาะสม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีบางกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ในการนําไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม

`

รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1A PARTICIPATORY MODEL FOR ACADEMIC ADMINISTRATION OF THE VOCATIONAL EDUCATION INSTITUTE NORTH EASTERN REGION 1 is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.