การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
THE DEVELOPMENT OF ADMINISTRATION STRATEGIES FOR SMALL PRIMARY SCHOOLS WHEN JOINING THE ASEAN COMMUNITY
: ชื่อผู้วิจัย นางฐิติมน ฉัตรจรัลรัตน์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2556
: 659
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการและแนวทางแก้ปัญหา สนองความต้องการการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหาร ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริงของกลยุทธ์การบริหาร กระบวนการวิจัยมี 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการบริหาร และแนวทางแก้ปัญหา/สนองความต้องการการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเชิงสำรวจ จากผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 370 คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 11 ด้าน คือ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียน 2) การจัดทำพันธกิจของโรงเรียน 3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ 4) การร่วมกับชุมชนในการระดมทรัพยากร 5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 6) วิธีการพัฒนาครู 7) การนิเทศติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 8) การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกในการจัดการเรียนรู้ 10) การใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่ส่งเสริมการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน และ 11) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและความต้องการในการบริหารอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน จากนั้นผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กรางวัลพระราชทาน จำนวน 5 คน ได้แนวทางแก้ปัญหา/สนองความต้องการทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ทั้ง 11 ด้าน รวม 32 แนวทาง
ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาระยะที่ 1 ไปสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เพื่อจัดทำกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน (รวมผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ที่ไปสัมภาษณ์) พิจารณาตามกระบวนการเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียน ทั้ง 11 ด้าน รวม 103 กลยุทธ์
ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริงของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 370 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์ และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมากทุกกลยุทธ์
การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนTHE DEVELOPMENT OF ADMINISTRATION STRATEGIES FOR SMALL PRIMARY SCHOOLS WHEN JOINING THE ASEAN COMMUNITY is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.