การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BY INTEGRATING CONSTRUCTIVIST THEORY AND CRITICAL THINKING APPROACH IN ENHANCING SCIENCE LEARNING OUTCOME AND ABILITY IN SCIENCE CREATIVE DECISTION MAKING OF ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS

: ชื่อผู้วิจัย นางจรรยา ศรีพันธะบุตร
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: หลักสูตรและการเรียนรู้
: ปี 2555
: 863

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัตติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยพิจารณาจาก 2.1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.2) การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2.3) การเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจ อย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยการสอบถามครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 90 คน และการสัมภาษณ์ครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ประเด็นคำถาม ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียนแต่ละห้อง มีจำนวน 46 คน และ 46 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และสุ่มอย่างง่ายเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการสอนตามยุทธศาสตร์จัดการการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาในระยะนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Control - Group Pretest - Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for Independent)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัตติวิสต์และแนวคิด การคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ชั้นกระตุ้นให้คิด 2) ขั้นคิดพิจารณา 3) ขั้นสะท้อนความคิด และ 4) ขั้นนำแนวคิดไปใช้ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า

2.1 ผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2.1.1 นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม

2.1.2 นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม

2.2 ความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม

`

การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาTHE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BY INTEGRATING CONSTRUCTIVIST THEORY AND CRITICAL THINKING APPROACH IN ENHANCING SCIENCE LEARNING OUTCOME AND ABILITY IN SCIENCE CREATIVE DECISTION MAKING OF ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.