กลยุทธ์การนำที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
EFFECTIVE LEADING STRATEGY FOR PRIVATE SCHOOL ADMINISTRATOR IN THE NORTHEAST

: ชื่อผู้วิจัย ภูเงิน บุตรเคน
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2555
: 600

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การนำที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนที่ประสบผลสําเร็จ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนากลยุทธ์การนําที่มีประสิทธิผลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน และ 3) ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนํากลยุทธ์การนําที่มีประสิทธิผลสําหรับผู้บริหารเอกชนไปปฏิบัติ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ดําเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษากลยุทธ์การนําที่มีประสิทธิผลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประสบผลสําเร็จ ใช้การวิเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้บริหารที่ประสบผลสําเร็จ จํานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนากลยุทธ์การนําที่มีประสิทธิผลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ ระยะที่ 3 ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนํากลยุทธ์การนําที่มีประสิทธิผลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนไปปฏิบัติ ใช้การวิจัยเชิงสํารวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้



1. กลยุทธ์การนําที่มีประสิทธิผลสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านการนําผู้อื่น มี 5 กลยุทธ์ ประกอบด้วยวิธีปฏิบัติ 25 วิธี 2) ด้านการนําองค์การ มี 8 กลยุทธ์ ประกอบด้วยวิธีปฏิบัติ 38 วิธี และ 3) ด้านการนําตนเอง มี 5 กลยุทธ์ ประกอบด้วยวิธีปฏิบัติ 21 วิธี

2. ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนเห็นว่ากลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างยิ่งเกือบทุกวิธี

`

กลยุทธ์การนำที่มีประสิทธิผลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือEFFECTIVE LEADING STRATEGY FOR PRIVATE SCHOOL ADMINISTRATOR IN THE NORTHEAST is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.