การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย
THE DEVELOPMENT OF EXPERIENTIAL LEARNING MANAGEMENT STRATEGY EMPHASIZING ON INQUIRY TO ENHANCE REASONING THINKING AND KNOWLEDGE ACQUISITION ABILITIES OF PRESCHOOL CHILDREN
: ชื่อผู้วิจัย นิทรา ช่อสูงเนิน
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ปฐมวัย
: ปี 2555
: 862
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะ 2) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ดําเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้จากแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการแสวงหาความรู้ และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ปกครอง ระยะที่ 2 พัฒนายุทธศาสตร์จากการสร้างและตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ คู่มือยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะ แผนการจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 แบบทดสอบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล แบบสังเกตความสามารถในการแสวงหาความรู้ แบบสังเกตความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยนํายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยเป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ จํานวน 8 หน่วยการเรียนรู้ ทําการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยจับฉลากห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองห้องเรียน จํานวน 33 คน ได้รับการจัดการการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะ และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จํานวน 33 คน ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติตามแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะทําให้ได้รับยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่มีหลักการตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ เพียเจท์ และ บรูเนอร์ ทฤษฎีวัฒนธรรมทางสังคมของ ไวก็อตสกี้ แนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบด้วยองค์ประกอบของยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นจุดประกายคิด ขั้นร่วมกันคิด ขั้นนําเสนอการคิด และขั้นประยุกต์แนวคิด 2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมประกอบด้วยการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน 3) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่บ้านและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่โรงเรียน
2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะหลังการทดลอง มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะหลังการทดลอง มีความสามารถในการแสวงหาความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม 3) เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดการการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะในระดับมาก
การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยTHE DEVELOPMENT OF EXPERIENTIAL LEARNING MANAGEMENT STRATEGY EMPHASIZING ON INQUIRY TO ENHANCE REASONING THINKING AND KNOWLEDGE ACQUISITION ABILITIES OF PRESCHOOL CHILDREN is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.