การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาคิวในการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแนวพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
An Application of Q Methodology in Developing a Buddhist Leadership Model for School Administrators
: ชื่อผู้วิจัย ดนุช ตันเทอดทิตย์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2555
: 922
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยกระบวนการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีภาวะผู้นํา โดยการวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้วิธีวิทยาคิว ระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสํารวจความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระยะที่ 4 การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านความมีปัญญาและวิสัยทัศน์ องค์ประกอบด้านความดีและการเป็นแบบอย่าง และองค์ประกอบด้านความกล้าหาญ ความเพียร และการบริหาร โดยองค์ประกอบด้านความมีปัญญาและวิสัยทัศน์ ประกอบด้วยคุณลักษณะคือ ความมีปัญญา การรู้จักจุดมุ่งหมาย ความมีหลักการ ความมีเหตุผล ความอดทน การรู้จักบุคคล การรู้จักเหตุ ความไม่เบียดเบียน และการรู้จักชุมชน องค์ประกอบด้านความดีและการเป็นแบบอย่าง ประกอบด้วยคุณลักษณะคือ ความเมตตา ความเป็นแบบอย่าง ความเสียสละ ความละอายต่อบาป ความช่วยเหลือเกื้อกูล ความซื่อสัตย์ ความกรุณา ความรักในสิ่งที่ทํา การรู้จักพอประมาณ และความยินดีในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และองค์ประกอบด้านความกล้าหาญ ความเพียร และการบริหาร ประกอบด้วยคุณลักษณะคือ ความเพียร ความแกล้วกล้าการรู้จักตน ความเอาใจใส่ การมีจิตตั้งมั่นในสิ่งที่ทํา ความเป็นผู้รู้จักการใช้เวลา ความยุติธรรม การมีมนุษยสัมพันธ์ การมีวาจาเป็นที่รัก ความเสมอต้นเสมอปลาย และการให้
2. การตรวจสอบรูปแบบโดยผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นด้วยกับรูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในระดับมากทุกองค์ประกอบ
3. การตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นด้วยกับรูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบภาวะผู้นําแนวพุทธสําหรับผู้บริหารสถานศึกษา
การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาคิวในการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแนวพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาAn Application of Q Methodology in Developing a Buddhist Leadership Model for School Administrators is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.