ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
A PROPOSED POLICY FOR DEVELOPING THE PRIVATE HIGHER EDUCATIONAL MANAGEMENT OF LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC
: ชื่อผู้วิจัย ไชยยน คํามะวงษ์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2556
: 420
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการบริหารการศึกษาชั้นสูง ภาคเอกชนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 2) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไดยประชาชนลาว การวิจัยครั้งนี้ใช้วิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นดอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพของการบริหารการศึกษาชั้นสูง ภาคเอกชนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไดยประชาชนลาว โดยการศึกษาเอกสารการศึกษาเชิงสํารวจจากผู้บริหารจํานวน 355 คน และการศึกษาพหุกรณีจากมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนําของต่างประเทศ 3 มหาวิทยาลัย คือ ประเทศไทย ออสเดรเลีย และสหรัฐอเมริกา ระยะที่ 2 การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน โดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 14 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน โดยจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 11 คน และจัดประชาพิจารณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย จํานวน 42 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพของการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน พบว่า 1) ด้านนโยบาย ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ รองลงมา คือด้านพันธกิจ ด้านเป้าหมาย ด้านกลยุทธ์ ดามลําดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านตัวชี้วัด 2) ด้านการบริหารการศึกษา มี 1 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการเรียนการสอน นอกนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการบริหารงาน ด้านการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ด้านการวิจัย ดามลําดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
2. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เสนอดังนี้
2.1 ด้านวิสัยทัศน์ คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรกําหนดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาของพรรค 2) กําหนดวิสัยทัศน์ที่ชี้ทิศทางการ พัฒนาการจัดการศึกษาชั้นสูงที่ชัดเจนและถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) 3) กระตุ้นให้บุคลากรทุกคนดําเนินการตามวิสัยทัศน์ที่กําหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
2.2 ด้านพันธกิจ คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรกําหนดพันธกิจที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้และครอบคลุมภารกิจหลักของการศึกษาชั้นสูง 2) กระตุ้นให้บุคลากรทุกคนดําเนินการตามพันธกิจที่กําหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ 3) ประชาสัมพันธ์พันธกิจให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วถึงกันอย่าง สม่ำเสมอ
2.3 ด้านเป้าหมาย คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรกําหนดเป้าหมายที่ชี้ทิศทางการพัฒนาการจัดการศึกษาชั้นสูงที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ตั้งไว้ 2) กระตุ้นให้บุคลากรทุกคนดําเนินการดามเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ 3) ประชาสัมพันธ์เป้าหมายของวิทยาลัยให้เป็นที่รับรู้ โดยทั่วถึงกันอย่างสม่ำเสมอ
2.4 ด้านกลยุทธ์ คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรจัดสร้างแผนปฏิบัติงานประจําปีที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและแผนกลยุทธ์ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผล 2) วางแผนนโยบายและเป้าหมายการพัฒนานักศึกษา ทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่เป็นระบบและเชื่อมโยงสอดคล้องกัน 3) กําหนดมาตฐานในการประเมินผลการปฏิบัติงานการจัดการศึกษาชั้นสูงอย่างเป็นระบบ เชื่อถือได้
2.5 ด้านตัวชี้วัด คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรจัดทําตัวชี้วัดความสําเร็จของแต่ละกลยุทธ์ (KP) พร้อมทั้งระบุค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดที่จะใช้วัดระดับความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปี 2) นําเสนอตัวชี้วัดความสําเร็จของแต่ละกลยุทธ์ให้บุคลากรรับทราบและเข้าใจ 3) ประเมินผลการดําเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนกลยุทธ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2.6 ด้านการบริหารการศึกษาชั้นสูง
2.6.1 ด้านการเรียนการสอน คือ 1) ผู้บริหารสถาบันการศึกษาชั้นสูง ภาคเอกชน ควรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานด้านการเรียนการสอนในระดับการศึกษาชั้นสูงเป็นอย่างดี สามารถจัดหาหลักสูตร เอกสารหลักสูตร ตลอดถึงสิ่งอํานวยความสะตวกให้ครูอาจารย์ เลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม 2) มีการวางแผนและพัฒนางานการเรียนการสอนในระดับการศึกษาชั้นสูงโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม 3) จัดทําแผนบริหารการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์โดยภาพรวมของวิทยาลัย
2.6.2 ด้านการวิจัย คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรมีห้องสมุดที่มีเอกสาร ตํารา งานวิจัย วารสารเฉพาะสาขาที่มีความทันสมัยและมีจํานวนมาก เพียงพอและเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า 2) สนับสนุนงบประมาณในการซื้อหนังสือวารสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 3) มีระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยและมีความสะดวกในการค้นคว้าและใช้ฐานข้อมูลนั้น
2.6.3 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูง ภาคเอกชน ควรบริการให้คําปรึกษาการดําเนินโครงการต่าง ๆ แก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานธุรกิจเอกชน หน่วยงานระหว่างประเทศ นิติบุคคลหรือบุคคลต่าง ๆ 2) บริการให้คําปรึกษาการวิจัยแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานธุรกิจเอกชน หน่วยงานระหว่างประเทศ นิติบุคคล หรือบุคคลด่าง ๆ 3) บริการจัดฝึกอบรมหรือบริการความรู้ให้แก่ชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ
2.6.4 ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูง ภาคเอกชน ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ 2) กําหนดเอาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเข้าในหลักสูตร 3) สนับสนุนจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมภายนอกวิทยาลัย ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
2.6.5 ด้านการบริหารงาน คือ 1) สถาบันการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชน ควรจัดระบบโครงสร้างการบริหารงานโดยมอบหมายภาระงานและความรับผิดชอบให้ฝ่ายต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการสรรหา คัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาชั้นสูงอย่างเหมาะสม 3) มีนโยบายและมาตรการในการพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน 4) จัดห้องเรียนและสภาพแวดล้อมในสถาบันให้สะอาดและปลอดภัย 5) จัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานําความรู้ด้านทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ
ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาชั้นสูงภาคเอกชนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวA PROPOSED POLICY FOR DEVELOPING THE PRIVATE HIGHER EDUCATIONAL MANAGEMENT OF LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.