รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A MODEL FOR DEVELOPING OF MUNICIPALITY TEACHER'S ETHICS IN THE NORTHEASTERN

: ชื่อผู้วิจัย ประพันธ์ พลแพงขวา
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: ครูและบุคลากรทางการศึกษา
: ปี 2555
: 412

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม ซึ่งมีขั้นตอนในการดําเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมครูเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จําเป็นต้องพัฒนา ใช้การคัดกรองพฤติกรรม โดยผู้อํานวยการโรงเรียนเทศบาลนครอุดรธานี 9 คน และการสํารวจพฤติกรรมจริยธรรมที่จําเป็นต้องพัฒนาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 121 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดอันดับพฤติกรรมครูที่จําเป็นต้องพัฒนา ระยะที่ 2 การสร้างและการประเมินรูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูเทศบาล โดยใช้การประชุมสนทนากลุ่มกับผู้อํานวยการโรงเรียนเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ครั้ง และประชุมสนทนากลุ่มประเมินและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวแทน จํานวน 12 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูเทศบาลกับครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 6 นครอุดรธานี จํานวน 73 คน ใช้กลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม โดยใช้คู่มือดําเนินการพัฒนาจริยธรรม ทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมของครู แบบประเมินเจตคติต่อจริยธรรมของครู และแบบประเมินการปฏิบัติตนตามจริยธรรมของครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. จริยธรรมครูเทศบาลที่จําเป็นต้องพัฒนา มี 9 ต้าน ตามลําดับความจําเป็นต้องพัฒนา ดังนี้ 1) ความรับผิดชอบ 2) ความเมตตา 3) ความขยันหมั่นเพียร 4) ความมีวินัย 5) ความศรัทธาในวิชาชีพ 6) ความซื่อสัตย์ 7) ความประหยัด 8) ความอดทน และ 9)ความสามัคคี

2. รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูเทศบาล ประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบ คือ 1) พฤติกรรมทางจริยธรรมครูเทศบาลที่จําเป็นต้องพัฒนา 2) เป้าหมายการพัฒนาจริยธรรม และ 3) วิธีการพัฒนาจริยธรรม

3. การตรวจสอบรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน 4 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลําดับดังนี้ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้องครอบคลุม และด้านความเป็นประโยชน์

4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูโรงเรียนเทศบาล 6 นครอุดรธานี มีดังนี้ 1) ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจต่อจริยธรรมของครู พบว่า หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม 2) ผลการประเมินเจตคติต่อจริยธรรมของครู พบว่า ครูมีเจตคติอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินการปฏิบัติตนของครู พบว่า ครูมีการปฏิบัติตนตามจริยธรรมทั้ง 9 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

`

รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมครูเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือA MODEL FOR DEVELOPING OF MUNICIPALITY TEACHER'S ETHICS IN THE NORTHEASTERN is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.