การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
THE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ADMINISTRATION MODEL FOR PRIMARY SCHOOLS IN LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC

: ชื่อผู้วิจัย ศรีสุข วงศ์วิจิตร
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: นโยบายการศึกษา
: ปี 2553
: 1047

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป. ลาว) โดยกระบวนการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสังเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 22 คน ระยะที่ 2 ใช้เทคนิคเคลฟายจากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในรอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์ด้วยคําถามปลายเปิด รอบที่ 2 และ 3 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ มัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่าง

ควอไทล์ ระยะที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อํานวยการโรงเรียนประถมศึกษาในขอบเขตทั่วประเทศ จํานวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 ตรวจสอบเพื่อยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ โดยวิธีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาใน ส.ป.ป. ลาว ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานวิชาการ ด้านการดําเนินงานตามขอบข่ายงานวิชาการ และด้านผลสําเร็จของการบริหารวิชาการ

2. ด้านปัจจัยสนับสนุนการบริหารงานวิชาการ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบุคลากรบริหารวิชาการ ด้านคุณลักษณะของผู้บริหาร งานวิชาการ ด้านวิธีการคัดเลือกผู้บริหารวิชาการ และด้านคุณลักษณะของครู

3. ด้านการดำเนินงานตามขอบข่ายงานวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย 8 ด้าน โดยรวมผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนด้านที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันมากที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ด้านการดำเนินงานห้องสมุด ด้านการนิเทศภายในโรงเรียน ด้านการแนะแนว และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ยกเว้นด้านหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้ที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันอยู่ในระดับมาก

4. ด้านผลสำเร็จของการบริหารวิชาการ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเห็นว่าโดยด้านผลสำเร็จของการบริหารงานวิชาการพิจารณาได้จาก ด้านคุณลักษณะของนักเรียน และด้านคุณลักษณะของโรงเรียน

5. การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาใน ส.ป.ป. ลาว จากผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณลักษณะของโรงเรียน

6. การตรวจสอบรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้องครอบคลุม ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้

`

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวTHE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ADMINISTRATION MODEL FOR PRIMARY SCHOOLS IN LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.