การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย
THE DEVELOPMENT OF CORE COMPETENCY OF STUDENT LEADERS AT RAJABHAT UNIVERSITY IN UPPER REGION OF NORTHEASTERN THAILAND

: ชื่อผู้วิจัย เกรียงไกร ธุระพันธ์
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
: อุดมศึกษา
: ปี 2557
: 680

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักที่จําเป็นและสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้นํานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ 3) เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 6 ระยะ ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ระยะที่ 1 ศึกษาสมรรถนะหลักที่จําเป็นของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประชากรเป้าหมายจํานวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปวิเคราะห์จากเนื้อหาที่สัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การสํารวจสมรรถนะหลักที่ต้องการพัฒนาของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือดอนบนที่ต้องการพัฒนา ประชากรเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ที่มีบทบาทด้านกิจการนักศึกษา ด้านงานพัฒนานักศึกษา จํานวน 88 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้นําองค์กรนักศึกษา จํานวน 40 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 3 นักศึกษาโดยทั่วไป ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 369 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป

ขั้นตอนที่ 2 ระยะที่ 1 การหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสหวิทยาการ จํานวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุป วิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การหาความเหมาะสมและความสอดคล้องของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากสหวิทยาการ จํานวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเหมาะสม และแบบสอบถามความสอดคล้องขององค์ประกอบโครงร่างแนวทางการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป

ขั้นตอนที่ 3 ระยะที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะหลักผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นํานักศึกษา จํานวน 20 คน โดยวิธีเจาะจงตามกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง (One group pretest-postest design) เครื่องมือที่ใช้คือคู่มือที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 2 การประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เข้ารับการพัฒนา เพื่อน พี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา จํานวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินก่อนหลัง แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินความสําเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป โดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะหลักที่จําเป็นของผู้นํานักศึกษา มีจํานวนสมรรถนะหลัก 5 ด้าน 26 สมรรถนะย่อย ประกอบด้วย ด้านการสื่อสารและการประสานงาน ด้านสถิติและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านคุณธรรมจริยธรรมสําหรับผู้นํากิจกรรมนักศึกษา ด้านการวางแผนและบริหารจัดการโครงการและด้านภาวะผู้นําและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผลการวิเคราะห์สมรรถนะที่ต้องการพัฒนาของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย จํานวน 5 ด้าน ต้องการมากที่สุดเรียงจากมากไปหาน้อยตามลําดับคือ ลําดับที่ 1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม ลําดับที่ 2 ด้านภาวะผู้นําและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ลําดับที่ 3 ด้านการวางแผนและบริหารจัดการโครงการ ลําดับที่ 4 คือ ด้านสถิติและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และลําดับที่ 5 ด้านการสื่อสารและการ ประสานงาน

2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย ที่เหมาะสมคือการจัดทําหลักสูตรอบรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสมรรถนะ ประกอบด้วย 8 หน่วยการเรียนรู้ ระยะเวลาการพัฒนา 125 ชั่วโมง หรือประมาณ 3 สัปดาห์ ในการพัฒนาเน้นการนําไปสู่การปฏิบัติได้จริง มีวิธีการพัฒนาสมรรถนะ 11 วิธี และมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน

3. การประเมินสมรรถนะหลักก่อนการพัฒนาโดยรวมทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านภาวะผู้นําและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการวางแผนและบริหารจัดการโครงการอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อนําผลค่าเฉลี่ยการพัฒนาสมรรถนะหลักก่อนและหลังการพัฒนามาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติ t-test พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าหลังกระบวนการฝึกอบรมตามขั้นตอนต่างๆ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา

`

การพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้นํานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทยTHE DEVELOPMENT OF CORE COMPETENCY OF STUDENT LEADERS AT RAJABHAT UNIVERSITY IN UPPER REGION OF NORTHEASTERN THAILAND is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.