ยุทธศาสตร์การป้องกันเด็กและเยาวชนกระทําผิด ในกรุงเทพมหานคร
JUVENILE DELINQUENCY PREVENTION STRATEGY IN BANGKOK METROPOLIS

: ชื่อผู้วิจัย พันตํารวจเอก ศรุต สงวนสุข
: ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
: ประถม - มัธยมศึกษา
: ปี 2561
: 1213

logo onec

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบปัจจัยตัวแปร ด้านครอบครัว ด้านสถานศึกษา ด้านชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัย ด้านนโยบายหน่วยงานภาครัฐ ที่มีอิทธิพลต่อการยับยั้ง พฤติกรรมการกระทําผิดของเด็กและเยาวชน 2) สร้างยุทธศาสตร์การป้องกัน เด็กและเยาวชน กระทําผิด ในกรุงเทพมหานคร 3) ประเมินยุทธศาสตร์การป้องกันเด็กและเยาวชนกระทําผิดในกรุงเทพมหานคร กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ เด็กและเยาวชน ครอบครัว สถานศึกษา ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ อาศัย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA: Confirmatory Factor Analysis) และการ วิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้างพหุระดับ (Multilevel Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม IBM SPSS AMOS 21(Analysis of Moment Structures) ผลการวิเคราะห์พบว่า องค์ประกอบ ปัจจัยการยับยั้งพฤติกรรมการกระทําผิดของเด็กและ เยาวชนโดย ครอบครัว โดยสถานศึกษา โดยชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัย โดย นโยบายหน่วยงานภาครัฐ และองค์ประกอบการยับยั้งการกระทําผิด มีความตรงเชิงโครงสร้าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05การ วิเคราะห์ สมการ โครงสร้างตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณา จากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 212.129 ค่า x df เท่ากับ .960 (ไม่ควรเกิน 2) องศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 221, P-value เท่ากับ 654 ค่า RMSEA เท่ากับ .000 คัชนีวัดระดับความ กลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 964 ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการยับยั้งพฤติกรรมการกระทําผิดของ เด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสถานศึกษา (2) ปัจจัยด้าน สถานศึกษามีอิทธิพลทางอ้อมส่งผลต่อการยับยั้งพฤติกรรมการกระทํา ผิดของเด็กและเยาวชน โดย ผ่านปัจจัยด้านครอบครัว (3) ปัจจัย นโยบายหน่วยงานภาครัฐ และปัจจัยชุมชนท้องถิ่นที่อยู่อาศัย มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการยับยั้งการกระทําผิดของเด็กและเยาวชนโดยผ่านปัจจัยด้านสถานศึกษา (4) ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐ มี อิทธิพลทางอ้อมในการยับยั้งการกระทําผิดของเด็กและเยาวชนโดย ผ่านปัจจัยด้านสถานศึกษา นําผลการวิจัยมาพัฒนายุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการฝึกอบรมการป้องกันเด็กและเยาวชนกระทําผิด ด้วยการ ระงับ ยับยั้ง ลด ละเลิก การกระทําผิด ด้วย การ รู้ตนเอง มีสามัญสํานึกที่ดี มีความตระหนักด้วยตนเองโดย มีตัวชีวัดการฝึกปฏิบัติยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาองค์ความรู้กําหนดแนว ทางการปฏิบัติการยับยั้งการกระทําผิดของ เด็กและเยาวชนให้กับหน่วยงานองค์กร ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบัน ชุมชน ท้องถิ่นที่อยู่อาศัย และการกําหนดนโยบายภาครัฐ เพื่อร่วมกันพัฒนา และกํากับดูแลเด็กและ เยาวชนให้สามารถ ระงับ ยับยั้ง ลด ละ เลิก การกระทําผิดด้วยตัวเอง ตามตัวแปรที่ค้นพบ ยุทธศาสตร์การป้องกันเด็กและเยาวชนกระทําผิดในกรุงเทพมหานคร ได้รับ การประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญ เห็นว่าสามารถนํายุทธศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ และควร ขับเคลื่อนให้เป็น ยุทธศาสตร์ในระดับชาติต่อไป

`

ยุทธศาสตร์การป้องกันเด็กและเยาวชนกระทําผิด ในกรุงเทพมหานคร JUVENILE DELINQUENCY PREVENTION STRATEGY IN BANGKOK METROPOLIS is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 License.